วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวันครู

รายชื่อประเทศที่มี วันครู

ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด


          - อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
          - มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
          - ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน

ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด

          - แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
          - จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
          - สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
          - ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
          - โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
          - รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
          - สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
          - สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
          - ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
          - ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
          - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
          - เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน

         

16 มกราคม 2555 วันครูแห่งชาติ

เดือนมกราคมของทุกปี เป็นเดือนต้อนรับศักราชใหม่ที่มีวันสำคัญ ๆ อยู่หลายวัน ซึ่งหลังจากที่ได้สนุกหรรษากับวันปีใหม่ และวันเด็กกันไปแล้ว ก็ถึงคิวของวันครู อีกหนึ่งวันสำคัญที่ทุกคนจะได้รำลึกถึงครูบาอาจารย์กันในวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี

          และเพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ลูกศิษย์ทั้งหลายได้รำลึกถึงพระคุณของคุณครู วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ ประวัติ วันครู และเกร็ดน่ารู้ในวันครู ทั้ง บทสวดบูชาครู กิจกรรมวันครู ฯลฯ แต่ก่อนจะไปพบกับสาระดี ๆ ในวันครูนั้น ต้องบอกก่อนเลยว่า วันครู ครั้งแรกเกิดขึ้นเนื่องมาจากในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุก ๆ ปี เป็น วันครู โดยการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา  


ความหมายของครู

          ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของครู 

ประวัติความเป็นมา

          วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

          ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

          พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

          "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

          จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

          คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

          งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ 
 
บทสวดเคารพครู

          (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา

          ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

(สวดทำนองสรภัญญะ)

          (สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์

          โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

          ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

          ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน

          จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน

          เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม

          ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม

          กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ

          คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร

          ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม

          (กราบ)

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
 
          เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

กิจกรรมวันครู

          การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

          1. กิจกรรมทางศาสนา

          2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
 
         

          ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

          รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงาน วันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

          หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ
ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู  ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ  ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

คำปฏิญาณตนของครู

          ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

          ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
         ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

          จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม


ารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู 
          1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

          3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

          4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

          5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

          6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

          7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

          8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

          9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

          10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
 




          ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

          ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

                                                      ข้อมูลจาก  วันครู ประวัติวันครู วันครูแห่งชาติ 2555

                                                                           http://www.hilight.kapook.com/



วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ขันลงหินบ้านบุ  ภูมิปัญญาด้านอุตสาหกรรมและหัตกรรม

ที่ตั้งของชุมชนบ้านบุ
บ้านบุ ตั้งอยู่บริเวณริมคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้ หลังสถานีรถไฟธนบุรี ยาวขนานไปกับลำคลองราว 800 เมตร ถึงบริเวณวัดสุวรรณาราม ในสมัยโบราณเรียกชุมชนด้านวัดสุวรรณารามว่า บ้านบุ และเรียกชุมชนด้านปากคลองว่าบ้านบุล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งที่ว่าการเขตบางกอกน้อย เป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกว่า 100 หลังคาเรือนบ้านบุ  เป็นย่านที่ทำขันลงหินหรือขันบุมาแต่โบราณ ปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาในชุมชนว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านบุ เป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้านภายหลังจากเสียกรุงเมื่อพุทธศักราช 2310 ชุมชนบ้านบุจึงอาจจะก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีหรือสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อมีการตั้งราชธานีเป็นการมั่นคงแล้ว โดยชาวบ้านผู้เคยประกอบอาชีพช่างบุทำเครื่องทองลงหินหรือเครื่องทองสำริด ได้รวมกลุ่มกันเลือกที่ตั้งบ้านเรือนขึ้นในทำเลนอกคลองคูเมืองราชธานี บริเวณปากคลองบางกอกน้อยอันเป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีวัดอมรินทราราม (วัดบางหว้า  และ วัดสุวรรณาราม (วัดทอง) วัดโบราณสมัยอยุธยาตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาแต่เดิมชาวบ้านคงดำรงชีพด้วยการทำภาชนะเครื่องทองลงหินเช่นเดียวกับเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดีและสืบเชื้อสายถ่ายทอดวิชาช่างบุต่อเนื่องกันมาในชุมชนหมู่บ้านหลายชั่วอายุคน จนเป็นที่มาของนาม บ้านบุถึงในปัจจุบัน 
ประวัติความเป็นมา          ขันลงหินเป็นภาชนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยสมัยก่อนบางบ้านใช้ใส่น้ำดื่มเพราะช่วยทำให้น้ำเย็นหรือใช้ใส่ข้าวสำหรับตักบาตรเพราะช่วยทำให้ข้าวหอม การทำขันลงหินเป็นอุตสาหกรรมที่สืบทอดกันมาเป็นงานเกือบทั้งหมด ระยะหลังได้ใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในขั้นตอนขัดครั้งสุดท้าย เล่ากันว้าครอบครัวที่ทำมีต้นตระกูลมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้อพยพมาอยู่ที่บางลำภู ภายหลังย้ายมายังบ้านสมัยก่อนจะใช้ทองม้าล่อที่เป็นทองจากเมืองจีนหลอมเป็นเนื้อขัน ปัจจุบันใช้ทองแดงผสมดีบุกกับเศษทองที่เหลือ จากขันเก่าซึ่งเชื่อว่ามีทองมาล่อเจือปนอยู่ผสมโลหะ 3 ชนิด ตามอัตราส่วนใส่เข้าหลอมรูปถ้วยที่ทำจากดินผสมแกลบ นำไปหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเทออกเป็นแผ่นกลมในเบ้าที่มีน้ำหล่ออยู่ เอาขึ้นเผาไฟอีกครั้ง เมื่อได้ที่แล้วจึงใช้ค้อนตีแผ่ให้เสมอจนขึ้นเป็นรูปขัน นำไปตีลายแล้วกลึงด้วยเครื่องกลึงที่เรียกว่า ภมร จากนั้นเป็นการขัดเงาลอยก่อนใช้หินละเอียดผสมน้ำห่อผ้าใส่ในขันแล้วเหยียบหรือกลึงขัดลบรอยให้ขัดจนขึ้นเงา เรียกว่า ลงหิน ปัจจุบันใช้เบ้าหลอมที่หลอมส่วนผสมตั้งแต่ต้นทุบให้ละเอียดผสมน้ำแล้วห่อผ้าลงใช้ขัดแทนเรียกว่า เหยียบเข้า ปัจจุบันขันลงหินมักจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นเครื่องตกแต่งบ้านในลักษณะประเพณีมากกว่าจะใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า และยังเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ
ความหมายคำว่า  บุ  และขันลงหิน
          *คำว่า บุหมายถึง การตีให้เข้ารูป ใช้กับงานโลหะ การทำขันบุของชาวบ้านบุใช้ทองสัมฤทธิ์ คือ โลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเป็นวัตถุดิบ บางครั้งจึงเรียกว่า เครื่องสัมฤทธิ์การนำทองสัมฤทธิ์มาตีแผ่ขึ้นรูปเป็นภาชนะ คือ การช่างที่เรียกว่าการบุ จึงเรียกภาชนะนั้นว่า เครื่องบุ และเนื่องจากขั้นตอนการขัดใช้หินเป็นก้อนขัดภาชนะจนขึ้นเงาจึงเรียกว่า เครื่องทองลงหินอีกประการหนึ่งด้วย
การบุภาชนะ แม้ว่าจะเป็นงานที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก แต่จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ความแม่นยำและความประณีตในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก การทำเครื่องทองลงหินของชาวบ้านบุยังคงยึดถือกรรมวิธีอย่างโบราณ ซึ่งกว่าจะแล้วเสร็จกระบวนการต้องอาศัยฝีมือ แรงงานของช่างหลายสาขามาประกอบกันทำขึ้นด้วยมือทั้งสิ้น  เมื่อราว 60 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านบุเป็นช่างทำขันลงหินทุกบ้าน โดยสืบทอดฝีมือและความเชี่ยวชาญกันมาในชุมชนในลักษณะที่เป็นหัตกรรมในครัวเรือน ช่างฝีมือชาวบ้านบุจะทำงานเป็นช่างอิสระตามบ้านหรือเป็นช่างให้กับโรงงานขนาดใหญ่เรียกว่า บ้านกงสี การทำงานมักแบ่งงานกันไปตามขั้นตอนการผลิตและฝีมือแรงงานจากเงื่อนไขความจำเป็น โดยฝ่ายชายจะทำงานหน้าเตา เป็นช่างหลอม ช่างแผ่ และช่างตี ซึ่งเป็นงานหนักและใช้ความเชี่ยวชาญสูง ต้องทำงานอยู่กับเตาร้อน ๆ ทั้งวัน ผู้หญิงจึงไม่สามารถทำได้ ฝ่ายหญิงจึงรับหน้าที่เป็นช่างลาย ช่างตะไบ และช่างกลึง ซึ่งต้องอาศัยความปราณีต
ขั้นตอนการทำขันลงหิน
การทำขันลงหินมีทั้งหมด 6 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ
 1. หลอมสำริด จะรวมไปถึงงานหน้าเตาด้วย คือ การตีแผ่, การขึ้นรูป, การแต่งและการตัดให้กลม 2. ช่างลาย 3. ช่างกลึง 4. ช่างกรอ 5. ช่างเจีย 6. การเก็บเม็ด การแต่และการขัดเงา
ขั้นตอนที่ 1  การหลอมสำริดและงานหน้าตา
การหลอม การหลอม คือ งานที่แปรสภาพวัตถุดิบตั้งแต่เป็นชิ้นโลหะจนเป็นรูปร่างของภาชนะขึ้นมา การหลอมประกอบไปด้วย หลอม และ เท โดยการหลอมแต่ละครั้งจะหลอมได้ภาชนะ 1 ใบ เท่านั้น ในตอนแรกนี้จะขอกล่าวถึงการทำเบ้ากลอมสำริดและการเตรียมดินงัน ซึ่งเปรียบเสมือนแม่พิมพ์แผ่นสำริด
 การทำเบ้าหลอมสำริด
อุปกรณ์

1.
 ดินเหนียวผสมแกลบเผาไฟในอัตรา 1:1
2.
 
ท่อนไม้สำหรับทำให้เบ้ากลม แต่ถ้าผู้ที่มีความชำนาญก็ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้
3.
 
ตราชั่งพร้อมลูกชั่ง ใช้สำหรับชั่งดินในการปั้น
4.
 
น้ำ 
 ขั้นตอนการทำเบ้าสำริด
1.
 ชั่งดินที่ใช้ปั้นเบ้าหลอม โดยถ้าเบ้าหลอมขนาด 700 กรัม จะใช้ดินประมาณ 20 กรัม
2.
 
นำดินที่ชั่งแล้วมาปั้นเป็นท่อนกลม ๆ
3.
 
นำท่อนดินมาเจาะรูตรงกลาง เพื่อสำหรับสอดนิ้วทีละนิ้วเข้าไปปั้นภาชนะ โดยในตอน
แรกใช้เพียงนิ้วเดียวค่อย ๆ หมุนไปเรื่อย ๆ จนรูที่เจาะมีขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาก็จะเปลี่ยนมาเป็นนิ้วหัวแม่มือเข้าไปในเบ้าแล้วใช้อีก 4 นิ้วคอยบังคับดินอยู่ด้านนอก และหมุนเบ้าไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เบ้าค่อย ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น
4.
 
ใช่นิ้วหัวแม่มือเข้าไปข้างในและใช้อีก 4 นิ้วคอยบังคับดินอยู่ด้านนอก และใช้ฝ่ามืออีกข้างประคองเบ้าเอาไว้และหมุนเบ้าไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เบ้าค่อย ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น
5.
 ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง 
รูดบริเวณปากเบ้าเพื่อให้เรียบและเพื่อให้ดินเป็นเนื้อเดียวกัน
6.
 
ใช้สี่นิ้วเข้าไปในเบ้าและหมุน ๆ ไปเรื่อย ๆ โดยใช้ฝ่ามืออีกข้างรองเบ้าเอาไว้ เพื่อในภายในเบ้าเรียบ และทำให้เกิดส่วนโค้งบริเวณก้นเบ้า
7.
 ทำตามข้อ 4
6 ไปเรื่อย ๆ อาจจะทำสลับกันบ้างจนได้ขนาดเบ้าตามต้องการ 8. เอาน้ำมาทาบริเวณแผ่นไม้และคว่ำเบ้าลงให้ปากเบ้าติดกับแผ่นไม้ และใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างตบเบ้าเบา ๆ  และหมุนเบ้าเป็นวงกลมไปกับแผ่นไม้ เพื่อให้ปากเบ้าเรียบเสมอกัน ในขณะที่ใช้ฝ่ามือตบเบ้าเบา ๆ นั้นก็ใช้ฝ่ามือตบบริเวณปากเบ้าไปด้วยกันเพื่อให้ปากเบ้ากลมเสมอกันและไม่ให้ปากเบ้าบานออก
9.
 กลับไปทำตามข้อ 4
6 อีกครั้งถ้าเบ้ายังไม่ได้รูป และต้องทำให้ผิวเบ้าเรียบไม่ให้
รอยและต้องให้เนื้อดินเป็นเนื้อเดียวกัน
10.
 
ในกรณีช่างไม่ชำนาญ หรือปั้นเบ้าแล้วไม่ได้รูปก็ให้นำเบ้ามาลงกับท่อนไม้ที่ทำเป็นรูปเบ้า แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองตบเบา ๆ และหมุนเบ้าไปเรื่อย ๆ เพื่อให้หลุมภายในเบ้าได้รูปมีขนาดตามต้องการ แล้ต้องนำไปทำตามข้อ 8 อีกครั้งเพื่อให้ปากเบ้าเรียบเสมอกัน
11.
 
เมื่อปั้นเบ้าเสร็จแล้วก็นำเบ้ามาผึ่งลมไว้ให้แห้ง ห้ามนำผึ่งแดดเพราะจะทำให้เบ้าแตก
12.
 
ถ้านำเบ้าที่แห้ไม่สนิทไปเผาอาจทำให้เกิดเบ้าระเบิดได้

การสมานดินงัน เพื่อนำดินงันไปใช้ในงานเท
อุปกรณ์
1.
 
ดินงัน ทำจากดินที่ใช้ทำเบ้าหลอม แล้วผึ่งให้แห้งและนำไปเผา โดยดินงันที่ปั้นต้องมีการเจาะรูระบายความร้อนเพื่อให้โลหะได้เย็นตัว ถ้าไม่เจาะรูระบายความร้อน เมื่อเทสำริดลงไปแล้ว สำริดจะเกิดฟองอากาศและพองขึ้นมา บางครั้งดินงันอาจระเบิดได้ โดยรูระบายความร้อนที่เจาะต้องเจาะทะลุทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงด้านข้างด้วย และใต้ดินนั้นต้องทำเป็นกากบาท เพื่อให้ระบายความร้อนจากที่เจาะรูด้วย ด้านข้างดินงันต้องทำเป็นร่องเอาไว้สำหรับใช้เส้นรวดรัดดินวัน เพื่อมิให้ดินงันแตกออก
2.
 
ดินสมาน คือ ดินที่ใช้ปั้นเบ้าหลอม ตานำมาทำเป็นท่อนกลม ๆ ยาว ๆ และผึ่งให้แห้ง
เอาไว้เพื่อใช้สมานรูเจาะไว้สำหรับระบายความร้อน
 
ขั้นตอนการทำสมานดินงัน
1.
 
นำผ้ามาชุบน้ำบริเวณด้านหน้าชองดินงัน และใส่น้ำลงไปบนดินงันเล็กน้อย เพื่อให้
ดินงันเปียก เพื่อทำให้ดินงันติดดินสมาน
2.
 
เอาแท่งดินสมานมาชุบน้ำเล็กน้อยพอหมาดมาฝนกับดินวันด้านหน้า เพื่อใช้ดินสมาน
เข้าไปอุดรูระบายความร้อน แต่อุดเพียงตื้น ๆ บาง ๆ เท่านั้น เพื่อให้ความร้อนได้ระบายได้ และมิให้สำริดที่หลอมเหลวไหลลงไปในรูระบายความร้อน
3.
 ทำตามข้อ 1
2 ไปเรื่อย ๆ จนหว่าดินสมานจะอุดรูบนดินงันจนหมด จนได้ดินงันที่
พร้อมไปทำการเทสำริด
4. แต่บางครั้งช่างจะใช้นิ้วรูดดินสมานที่
เปียกมายารูระบายความร้อนเลย เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
เบ้าและดินงัน
เบ้ามี 2 ชนิด เบ้าดิน ช่างปั้นขึ้นเองด้วยดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบ มีราคาถูกแต่ไม่คงทน ใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็เสีย เบ้ากรด เป็นเบ้านอก ทำจากโลหะ มีราคาแพง ใช้ได้หลายครั้ง ดินงัน คือ แบบพิมพ์ทองทำด้วยดินเหนียวผสมแกลบเผาไฟ ทรงกลม หน้าเป็นหลุมตื้น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่หลายขนาด หนาถึง 4
5 ซม. เพื่อให้มีความทนทานใช้เททองได้หลายครั้ง
การหลอม
วัตถุดิบ
1.
 ทองแดง
2.
 
ดีบุก
3.
 เศษสำริด ที่แตกหรือชำรุดจากการหลอมหรือการตี
อุปกรณ์
1.
 เบ้าหลอม ทำจากดินและแกลบเผาไฟ
2.
 
ถ่านไม้ซาก ขนาดเล็กประมาณ 1 ลูกบาศก์นิ้ว เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
3.
 
เตาเผา
4.
 
คีม
5.
 
มอเตอร์ไฟฟ้าเป่าลม
6.
 เหล็กเขี่ย 
ขั้นตอนการหลอมสำริด
1.
 งานหลอมจะเริ่มด้วยการนำโลหะ 2 ชนิด คือ ทองแดงและดีบุกมาใส่รวมกันในเบ้าหลอม อัตราส่วน ทองแดง 7 ส่วน : ดีบุก 1 ส่วน โดยการชั่งให้ได้น้ำหนักของภาชนะที่ต้องการ โดยเอาทองแดงใส่ในเบ้าหลอมก่อน เพราะทองแดงจะไม่ล้นออกมาข้างนอก ( ทองแดงเป็นเส้นเล็ก ๆ จึงหกออกมาง่าย ) แล้วใช้ดีบุกกับเศษสำริดอัดลงไปตาม
2.
 
ก่อนจะนำเบ้ามาหลอมใส่ลงในเตา นายช่างใหญ่จะใช้เหล็กเขี่ยแหวกถ่านในเตาออกให้เป็นแอ่งพอที่เบ้าหลอมจะลงไปได้
3.
 
นำเบ้าหลอมใส่ลงในแอ่งถ่านที่กำลังติดไฟแดงแล้วใช้ถ่านที่ร้อนกลบ และลูกสูบจะเอาถ่านมากลบเพิ่มอีก จนไม่เห็นเบ้าหลอมแล้วทำการเร่งไฟโดยใช้มอเตอร์เป่าลมเข้าไปในเตา
4.
 ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที โลหะทั้งสอง ชนิดจะหลอมละลายจนเป็นน้ำโลหะเหลว ๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้ เศษถ่านจะไม่ลงไปปนหับโลหะที่หลอมเหลวแต่อย่างใด แต่จะลอยอยู่บนผิวโลหะหลอมเหลว เสร็จจาขั้นตอนการหลอมเหลวแล้วก็จะเป็นขั้นตอนเท

  ทองแดงและดีบุก
         
                                                    การหลอม                                                        
 การเท
อุปกรณ์
1.
 ดินงัน ทำจากดินและแกลบเผาไฟมีขนาดตั้งแต่ศูนย์กลาง 4 10 นิ้ว และมีความลึก
ประมาณ 1 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3
4 นิ้ว
2.
 
คีม
3.
 
เหล็กเขี่ย
4.
 
นำมันโซล่า
5.
 
ทั่ง
6.
 
พัด
7.
 ค้อนเช็ด 
 ขั้นตอนการเท
1.
 
เมื่อโลหะในเบ้าหลอมละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว นายช่างใหญ่จะใช้คีมคีบเบ้า
ออกมาจากเตา และใช้
เหล็กเขี่ย
เขี่ยเศษถ่านที่ลอยอยู่บนผิวโลหะหลอมเหลวออก เพื่อไม่ให้มีเศษสิ่งสกปรกติดไปกับน้ำโลหะ
2.
 
นำโลหะที่หลอมเหลวเทลงบนดินงัน ขณะเทจะใช้เหล็กเขี่ยกันบริเวณผิวหน้าโลหะ
หลอม เหลว เพื่อกันมิให้เศษสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่ติดลงไปกับโลหะที่หลอมเหลว ซึ่งในแอ่งของดินงันจะมีน้ำมันโซล่าอยู่เพื่อช่วยลดความฝืดในขณะที่โลหะเหลวแผ่กระจายเป็นแผ่นกลม ซึ่งจะช่วยให้โลหะเหลวแผ่กระจายเสร็จก่อนที่จะแข็งตัว เห่ตุที่ใช้น้ำวันโซล่า ก็เพราะไม่ติดไฟง่ายและระเหยง่ายเมื่อถูกความร้อน
เทโลหะที่หลอมละลายแล้วบนดินงัน

 
3. เมื่อเทเสร็จแล้วต้องใช้พัด พัดให้เหล็กขยายตัวเต็มดินงัน ถ้าไม่พัดเหล็กจะไม่ขยายตัว(คือการพัดให้น้ำโลหะไหลไปทั่วดินงันโดยมีน้ำมันโซล่าเป็นตัวหล่อลื่น)
4.
 
ทิ้งให้โลหะแข็งตัว โดยโลหะจะเปลี่ยนจากสีแดงกลายเป็นสีดำแกมเทา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 5 นาที แล้วใช้คีมคีบแผ่นโลหะออกจากดินงัน
5.
 นำแผ่นโลหะที่ได้จากการเทแล้วรีบมา เก็บกลมในขณะที่โลหะยังร้อน ๆ 
อยู่ การเก็บกลม คือ การใช้ค้อนเช็คตีบริเวณริมแบ่งทอง เพื่อให้ขอบแผ่นทองไม่เว้าแหว่ง ถ้าแฟ่นทองแหว่งแล้ว บริเวณปากภาชนะจะเป็นรอยเว้าแหว่ง เวลากรอปากจะเสียเนื้อทองมากแล้วรีบไปเก็บกลมต่อ
6.
 นำแผ่นโลหะที่ได้จากการ เก็บกลม แล้วรีบมา คลุมขอบ ในขณะที่โลหะยังร้อน ๆ อยู่การ คลุมขอบ คือ การใช้ค้อนเช็ดตีบริเวณด้านสันขอบแผ่นทอง เพื่อให้ขอบแผ่นทองหนากันทั้งแผ่น เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วก็ได้แผ่นที่สำริดที่พร้อมนำไปตีแผ่ต่อไป
การตีแผ่สำริด
               การตีแผ่สำริดคือ การตีสำริดที่ได้จากการหลอมมาตีบแท่งเหล็กเป็นแผ่นบางให้ได้ขนาดความกว้างของภาชนะชิ้นนั้น ๆ เช่น ถ้าจะตีขันขนาด 9นิ้ว ต้องตีแผ่ให้ได้ 9.5นิ้ว  (เมื่อขึ้นรูปแล้วจะได้ขนาด 9นิ้วพอดี) โดยตีทีละ 2 3แผ่นให้แผ่ออกมาเป็นแผ่นกลมเทื่อที่จะทำการขึ้นรูปภาชนะ
 อุปกรณ์
1.      คีม จะเริ่มใช้คีมใหญ่แล้ว
2.      ค้อนนายช่าง ซึ่งจะเป็นค้อนที่นายช่างใช้
3.      ค้อนปอนด์ (น้ำหนัก 10ปอนด์) เป็นค้อนที่ลูกสูบใช้
4.      ทั่งเหล็ก ใช้รองแผ่นสำริดเวลาตี
5.      หินติ่ง ใช้เป็นตัวดันแผ่นสำริด
6.      เตาเผา
7.      เหล็กวัดขนาด
ขั้นตอน
1.
 ใช้คีมคีบแผ่นโลหะที่ได้จากการหลอมจำนวน 2 3 แผ่นวางซ้อนกัน แล้วนำไปเผาไฟ
จนโลหะร้อนจัดจนกลายเป็นสีแดง
2.
 การตีแผ่แต่ละครั้งต้องตีแบบ เกี่ยวห่วงหรือ เกี่ยวเม็ด
คือ การตีซ้ำครั้งหนึ่งของ
รอยตีเดิมไปเรื่อย โดยนายช่างใหญ่เป็นผู้ตีก่อนแล้วลูกสูบตีตาม สลับกันคนละหนึ่งที
3.
 
ใช้คีมคีบแผ่นโลหะออกมาวางบนทั่งเหล็กแล้วใช้ค้อนเหล็กมาตีลงบนแผ่นโลหะโดย
ตอนแรกตีลงบริเวณส่วนกลางของแผ่นโลหะก่อน ตีจนทั่วบริเวณตรงกลางแผ่นโลหะ
4.
 
ใช้คีมคีบแผ่นโลหะไปเผาจนโลหะร้อนจัดจนกลายเป็นสีแดงอีกครั้ง
5.
 
ใช้คีมคีบแผ่นโลหะออกวางบนทั่งเหล็กแล้วใช้ค้อนเหล็กมาตีลงบนโลหะโดยต่อมาตี
บริเวณส่วนถัดออกมาจากส่วนกลางของแผ่นโลหะ ตีจนทั่วบริเวณนั้น แล้วนำไปเผาไฟอีกรอบ
6.
 
ใช้คีมคีบแผ่นโลหะไปเผาไฟจนโลหะร้อนจัดจนกลายเป็นสีแดงอีกครั้ง
7.
 
ใช้คีมคีบแผ่นโลหะออกมาวางบนทั่งเหล็กแล้วใช้ค้อนเหล็กมาตีลงบนแผ่นโลหะโดย
ตีต่อมาตีลงบนบริเวณส่วนนอกสุดของแผ่นโลหะ ตีจนทั่วบริเวณนั้น แล้วนำไปเผาไฟอีกรอบ
8.
 นำแผ่นทองที่อยู่แผ่นล่างเอามาไว้เป็นบน แล้วกลับไปทำตามข้อ 3
7 อีกครั้ง แล้ว
ทำการวัดขนาดแผ่นที่แผ่แล้ว ให้ได้ขนาดตามภาชนะที่จะขึ้นรูป เช่นจะทำขันขนาด 9 นิ้ว ก็ตีแผ่แผ่นสำริดให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 9 นิ้วเช่นกัน แต่ถ้ายังไม่ได้ขนาดต้องทำซ้ำ ตามลำดับ
       ข้อ 3
7 อีก แต่บางครั้งอาจจะทำไม่ครบ 3 ลำดับก็ได้ถ้าได้ขนาดพอดี และต้องคอยวัดขนาดอยู่เสมอ
9.
 ทำจนได้แผ่นโลหะหนาเท่ากันทั่วทั้งแผ่น ปละมีขนาดตามที่ต้องการ ต่อจากนั้นจะนำมาตีรูป
การตีขึ้นรูป หมายถึง การตีแผ่นสำริดที่ได้จากการตีแผ่ มาตีขึ้นรูปให้เป็นรูปร่างภาชนะ
อุปกรณ์
1.
 ค้อนนายช่าง และค้อนเช็ดซึ่งเป็นค้อนที่นายช่างใช้
2.
 
ค้อนปอนด์ และค้อนลูกสูบ ซึ่งเป็นค้อนที่ลูกสูบจะใช้
3.
 
ทั่งเหล็ก และเติ่ง
4.
 
คีม
5.
 
เตาเผา
6.
 เหล็กวัดขนาด
ขั้นตอน
1.
 ใช้คีมคีบแผ่นทองที่ได้จากการตีแผ่มาซับซ้อนกัน 5 6 แผ่น แล้วนำมาเผาไฟให้ร้อนจนแดง ซึ่งขณะที่กำลังเผาอยู่นั้นต้องคอยพลิกกลับไปหลับมาด้วย
2.
 
ใช้คีมคีบแผ่นโลหะออกมาวางบนทั่งเหล็กแล้วใช้ค้อนมาตีลงบนแผ่นโลหะ โดยในตอนแรกตีลงบริเวณส่วนกลางของแผ่นโลหะก่อน ตีจนทั่วบริเวณตรงกลางแผ่นโลหะ (นายช่างจะใช้ค้อนนายช่างส่วนลูกสูบจะใช้ค้อนปอนด์) แล้วนำไปเผาไฟให้ร้อนจนแดง
3.
 
ตีตรงบริเวณถัดออกมาจากส่วนกลางของแผ่นโลหะ ตีจนทั่วบริเวณนั้น หรือตีจนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ (ความร้อนน้อยลง) แล้วนำไปเผาไฟอีกรอบ
4.
 
ตีลงบริเวณส่วนนอกสุดของแผ่นโลหะ ตีจนทั่วบริเวณแล้วนำไปเผาไฟอีกรอบ
5.
 ตีบริเวณส่วนกลางและส่วนถัดออกมาจากส่วนกลาง ซึ่งสลับกับการนำไปเผาไฟ6. 
ตีลงบริเวณส่วนนอกสุดแผ่นโลหะ แต่ได้เวนบริเวณขอบแผ่นโลหะไว้เพื่อสำหรับทำ
เป็นขอบภาชนะ แล้วนำไปเผาไฟอีกรอบ
7.
 
เริ่มตีบริเวณส่วนกลางและส่วนถัดออกมาจากส่วนกลาง เพื่อที่จะไล่เนื้อทองให้แผ่
ออกมาแต่ตีส่วนนอกสุด ซึ่งจะเว้นบริเวณริมขอบ ซึ่งขณะที่ตีทีละส่วนก็จะสลับกับการนำไปเผาไฟตอนนี้จะสังเกตเห็นได้ว่าขอบภาชนะเริ่มขึ้นแล้ว
8.
 
ตีบริเวณรอบ ๆ ขอบที่กำลังขึ้นมา เพื่อดันเนื้อทองให้ออกมาเป็นขอบภาชนะแล้วนำไปเผาไฟ
9.
 
เริ่มตีบริเวณส่วนกลาง ส่วนถัดออกมาจากส่วนกลาง เพื่อที่จะไล่เนื้อทองให้แผ่ออกมา
เพื่อจะทำเป็นขอบภาชนะ
10.
 
นายช่างใหญ่ใช้ค้อนเช็ดตีบริเวณโคนขอบเพื่อดันขอบให้สูงขึ้น (การไล่เนื้อทองที่โคนขอบให้แผ่ออกสูงขึ้น) งานนี้นายช่างใหญ่จะตีเพียงคนเดียว เมื่อตีเสร็จแล้วจะสังเกตเห็นขอบภาชนะชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ
11.
 
เริ่มตีบริเวณส่วนกลาง ส่วนถัดออกมาจากส่วนกลางและบริเวณโคนขอบอีก โดยตีเวียนแบบนี้ถึงสองรอบ เพื่อที่จะไล่เนื้อทองให้แผ่ออกมาเพื่อที่จะทำเป็นขอบภาชนะ
12.
 
ลูกสูบเลี่ยนจากค้อนปอนด์มาใช้ค้อนลูกสูบ ส่วนค้อนปอนด์เลิกใช้ในขั้นตอนนี้แล้วเพราะว่าเนื้อที่มนภาชนะเหลือน้อยลง เพราะขึ้นมาเป็นขอบบางส่วน และขอบเริ่มสูงทำให้ค้อนปอนด์เข้าไปในภาชนะไม่ได้
13.
 
เริ่มตีบริเวณส่วนกลาง ส่วนถัดออกมาจากส่วนกลางและบริเวณโคนขอบอีก 1 รอบ
14.
 
เมื่อตีได้ภาชนะใบบนมีขนาดใช้ได้แล้วต้องทำการสลับเอาใบล่างสุดขึ้นข้างบน และเอาใบรองสุดท้ายไว้เป็นใบที่ สอง ส่วนที่ 3 ใบบนนั้นถาดพักไว้ก่อน เนื่องจากภาชนะ 3 ใบบนนั้นถูกแรงตีมากที่สุดทำให้ขอบภาชนะขึ้นสูงกว่าใบล่าง ๆ ดังนั้นต้องเอาใบล่างมาตีเพื่อให้ขอบขึ้นสูงเช่นกัน งานนี้นายช่างใหญ่จะตีคนเดียว
15.
 
ใช้เหล็กขัด เคาะให้ภาชนะทั้ง 2 ในสวมกันพอดี โดยมรช่องว่าง (ถ้ามีเวลาตีภาชนะจะยุบ)
16.
 
นายช่างจะใช้ค้อนเช็ดตีไล่เนื้อทองขึ้นมาเป็นขอบ
17.
 
เมื่อได้ขอบภาชนะสูงดีแล้ว ก็นำภาชนะ 3 ใบที่พักมาซ้อนกันเหมือนเดิม โดยให้ 3 ใบอยู่ข้างบนเหมือนเดิม
18.
 
นำภาชนะที่เนื้อแตกมาสวมกับใบล่างสุด เพื่อให้ภาชนะใบล่างสุด เป็นที่รองรับแรงตีและเป็นตัวยืดหยุ่นระหว่างภาชนะกับ เนื่องจากใบล่างสุดจะรับแรงตีที่ถ่ายทอดมาหลายใบทำให้โลหะไม่แน่นและมีรูปร่างแบะกว้างก้นไม่กลม เพราะฉะนั้นใบล่างสุดจะไม่กลม
19.
 
เริ่มตีตรงส่วนกลาง ตีบริเวณถัดจากส่วนกลาง ตีโคนขอบและตีเวียนแบบนี้อีก 1 รอบโดยตีทั้งนายช่างและลูกสูบ สลับกับการนำไปเผาไฟอยู่เรื่อย ๆ
20.
 
เมื่อตีจนได้ภาชนะที่มีขนาดที่ต้องการแล้วก็ถอดออกพักไว้ ในที่นี้นายช่างถอด 3 ใบบนออกเพระใช้ได้แล้ว ส่วนที่ 2 ใบล่างพร้อมใบเสียที่รองก็นำไปตีอีกครั้ง
21.
 
เริ่มตีตรงส่วนกลาง ตีบริเวณถัดจากส่วนกลาง ตีโคนขอบ และตีแบบเวียนนี้อีก 3 รอบโดยตีทั้งนายช่างและลูกสูบ สลับกับการนำไปเผาไฟอยู่เรื่อย ๆ
22.
 เมื่อตีจนภาชนะมีขนาดที่ต้องการแล้วก็ถอดออก เป็นอันเสร็จขั้นตอนการขึ้นรูป
 
 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตีแผ่สำริด และนายช่างกำลังตีแผ่สำริด 


การแต่งกลาง
                การแต่งกลาง หมายถึง การตีภาชนะกับการพิมพ์ไม้เพื่อภาชนะได้รูปทรงที่มาตรฐาน และเป็นการทำให้ผิวภาชนะมีความเรียบเสมอกัน (ไม่มีรอยบุ๋มอันเนื่องมาจากการขึ้นรูป) และเป็นการทำกันให้เรียบ และสุดท้ายเป็นการทำให้ภาชนะมีความแกร่ง
1.      กลางทำจากท่อนไม้ โดยการแกะให้มีขนาดความโค้งเท่ากับภาชนะขนาดต่าง ๆ ดังนั้นจะกลางหลายขนาดภาชนะที่ผลิต กลางนี้เปรียบเสมือนกับพิมพ์นั่นเอง
2.      เหล็กขัด ทำจากไม้แต่เรียกว่าเหล็กขัด ทำหน้าที่เสมือนค้อน มีหลายขนาด เช่นกันตามการงาน
 อุปกรณ์
1.      เตาเผา
2.      เหล็กเขี่ย
3.      คีม
4.      อ่างน้ำ
 ขั้นตอน
1.นำภาชนะที่ตีขึ้นแล้วไปเผาให้ร้อนจนแดง โดยการเผาจะต้องคว่ำภาชนะลงกับเตาและต้องคอยหมุนภาชนะตลอดเวลา
2.นำภาชนะที่ร้อน ๆไป แต่งกลางคือ การนำภาชนะมาวางบนกลางที่ทำด้วยไม้แล้วใช้เหล็กขัด เคาะแต่ง บริเวณขอบภาชนะ และบริเวณส่วนโค้ง (กระพุ้ง) โดยแต่งให้ได้รูปเข้ากับเกลานั่นเอง
3.เมื่อโลหะเปลี่ยนเป็นสีดำ (เริ่มเย็น) ก็นำไปเผาไฟแล้วกลับมาลงกลางใหม่ ทำไปเรื่อย ๆจนได้ขนาดที่มาตรฐาน
4. เมื่อได้ขนาดมาตรฐานก็นำภาชนะไป ยีก้นคือ การนำบริเวณก้นภาชนะไปวาง
ถ่านร้อน ๆบนเตาเผา โดยในขณะวางต้องหมุนภาชนะไปด้วยเพื่อให้ความร้อนได้ทั่วถึงบริเวณก้น
5.
 เมื่อ ยีก้น
ภาชนะแล้วรีบนำมาวางบนพื้น ใช้กลางวางบนปากภาชนะให้กลางวางพาดขอบภาชนะ แล้วกดกลางให้น้ำหนักตกลงไปที่ภาชนะ เพื่อให้ก้นภาชนะเรียบแบบนั่นเองมิฉะนั้นแล้วก้นภาชนะโค้งแล้วจะวางบนพื้นเรียบไม่ได้ ต่อจากนั้นนำเหล็กขัดมาเคาะบริเวณก้นภาชนะ เพื่อให้ผิวบริเวณก้นภาชนะเรียบเสมอกัน ไม่ขรุขระเป็นลอนนั่นเอง
6.
 เมื่อแต่งกลางและก้นภาชนะเรียบร้อยแล้ว ก็นำภาชนะไปเผาไฟให้ร้อนจนแดงจัดแล้วนำไปโยนลงน้ำทันที เพื่อรักษาโครงร่างของผลึกไว้ และยังได้รับคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากน้ำ ทำให้แข็งแต่เปราะง่าย สักพักก็นำขึ้นจากน้ำเพื่อที่จะนำไปตัดให้ปากกลม 
การตัดให้ปากกลม
การตัดให้ปากกลม
  หมายถึง การใช้ค้อนตีบริเวณปากภาชนะทั้งด้านนอกและด้านใน  เพื่อตกแต่งให้ปากภาชนะมีความกลมสวยงาม ตลอดจนตีบริเวณก้นภาชนะให้ก้นภาชนะเรียบด้วยเช่นกัน โดยในงานช่างผู้ตีจะต้องชำนาญงานในการใช้สายตาเพ่งดูภาชนะว่ากลมได้รูปหรือยัง
 อุปกรณ์
1.
 
ค้อนเหล็ก
2.
 ทั่งเหล็ก
ขั้นตอน
1.
 นำภาชนะที่ได้จากการแต่งกลางแล้วมาวางบนทั่ง โดยให้ปากภาชนะวางคล่อมพาด
อยู่บนหรืออาจจะวางหงายบนทั่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะต้องตีอย่างไรให้ปากภาชนะกลมไม่มีการจำกัดตีด้านไหนก่อน แล้วใช้ค้อนเหล็กตีเพื่อดัดปากภาชนะ แล้วยกดูว่ากลมหรือยังถ้ายังก็ทำการตีต่อจนกลม เมื่อปากภาชนะกลมแล้วก็ดูที่บริเวณที่ก้นภาชนะว่าเรียบแบนดีหรือไม่ ถ้ายังก็ใช้ค้อนเคาะให้เรียบ ไม่ให้มีรอยโป่งออกมา เพราะเวลาวางภาชนะจะเอียงก็ได้ แต่ถ้าก้น
ขั้นตอนที่ 3 การดัดให้ปากกลม การดัดให้ปากกลม หมายถึง การใช้ค้อนตีบริเวณปากภาชนะทั้งด้านนอกและด้านใน เพื่อตกแต่งให้ปากภาชนะมีความกลมสวยงาม ตลอดจนตีบริเวณก้นภาชนะเพื่อให้ก้นภาชนะเรียบด้วยเช่นกัน ดังนั้นงานต้องใช้สายตาในการสังเกตมากเป็นพิเศษและต้องเป็นช่างที่มีสายตาแม่นยำและชำนาญแล้ว
อุปกรณ์
1. ค้อนเหล็ก
2. ทั่งเหล็ก
 
ขั้นตอน
1.
 นำภาชนะที่ได้จากการแต่งกลางแล้วมาวางบนทั่ง โดยให้ปากภาชนะวางคร่อมพาด
อยู่บนหรืออาจจะวางหงายบนทั่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะต้องตีอย่างไรให้ปากภาชนะกลมไม่มีการจำกัดตีด้านไหนก่อน แล้วใช้ค้อนเหล็กตีเพื่อดัดปากภาชนะ แล้วใช้สายตาดูว่ากลมหรือยัง ถ้ายังก็ตีอีก
2.
 
เมื่อปากภาชนะกลมแล้วก็ดูที่ก้นภาชนะว่าเรียบแบนดีหรือไม่ ถ้ายังก็ใช้ค้อนเคาะให้
เรียบ ให้มีรอยโป่งออกมา เพราะเวลาวางภาชนะจะเอียงได้ แต่ถ้าก้นภาชนะเรียบแบนดีก็ไม่ต้องเคาะ เมื่อเสร็จจากขั้นตอนนี้แล้วจะส่งไปกลึงหรือกรอปาก
ขั้นตอนที่ 4 การกลึง การกลึง หมายถึง การขัดเอาสีดำที่ผิวภาชนะออกเพื่อให้เห็นสีทองของเนื้อสำริด การขัดสีดำที่ผิวภาชนะออกนี้ขึ้นอยู่ตามความต้องการของผู้สั่ง เช่น
1.
 
ต้องการเอาสีดำไว้ด้านนอก ส่วนด้านในสีทอง ก็จะทำการกลึงเฉพาะด้านในภาชนะเรียกว่า กลึงดำ (เป็นที่นิยมมากที่สุด และนิยมมากในต่างประเทศ)
2.
 
ต้องการสีผิวภาชนะเป็นสีทองสองด้าน ก็จะทำการกลึงทั้งด้านในและด้านนอก
ภาชนะ เรียกว่า กลึงขาว (เป็นที่นิยมรองลงมา นิยมมากในไทย)
3.
 
ต้องการเอาสีดำไว้ด้านใน ส่วนด้านนอกสีทอง ก็ทำการกลึงเฉพาะด้านนอกภาชนะ
(ไม่ค่อยพบ)
4.
 ต้องการเอาสีดำที่ผิวภาชนะทั้งด้านนอกและด้านในไว้ ก็ไม่ต้องผ่านขั้นตอนนี้
อุปกรณ์
1.
 ภมร เป็นแก่นไม่กลม ๆ ยาว ๆ ซึ่งในปัจจุบันได้ใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้า ในอดีตได้ใช้กับ
คันชัก โดยใช้คนสองคนช่วยกันชัก ว่า ลูกชัก
2.
 
หินลับมีด
3.
 
ชันยาเรือ นำมาเคี่ยวกับไขเนื้อสัตว์จนเหนียวข้น
4.
 ไขเนื้อสัตว์ซื้อตามร้านก๋วยเตี๋ยวในชุมชน กระป๋องละ 
5 บาท
5.
 
เหล็กกระดำ ทำจากตะไบเหล็กธรรมดา แล้วต่อหัวที่ปลายตะไบ
6.
 เหล็กปัด หรือ เหล็กรอง ทำจากตะไบเหล็กธรรมดา แล้วมาต่อหัวที่ปลายตะไบ
7. เหล็กเดินละเอียด หรือเหล็กปัดให้เนื้อละเอียด ทำจากตะไบเหล็กธรรมดา แล้วมาต่อ
หัวที่ปลายตะไบ
8.
 
เหล็กตะไบธรรมดา
9.
 
ผ้าชุบน้ำ
10.
 
อ่างน้ำ
11.
 แท่นไม่รองมือ
ขั้นตอน (กลึงดำ)
1.
 นำภาชนะไปวางบนเตาไฟจนร้อน
2.
 
เอาชันที่เคี่ยวจนเหนียวข้นทาบริเวณก้นภาชนะด้านนอก (ถ้ากลึงด้านนอกก็ทา
บริเวณก้นภาชนะด้านใน)
3.
 
เอาก้นภาชนะที่ทาชันแล้วติดกับภมร โดยใช้แรงช่วยกดให้ติด เปิดสวิทช์เครื่องกลึงได้
เลย
4.
 
นำผ้าชุบน้ำเช็ดกับภาชนะด้านใน เพื่อให้ชันเย็นตัวเร็วขึ้น ชันจะได้ติดกับภมร
5.
 
เมื่อภาชนะติดกับภมรดีแล้วก็ใช้ เหล็กดำ เป็นดันดับแรก เพื่อกำจัดสีดำของผิวสำริด
ออก โดยใช้ปลาย เหล็กกระดำ เจียรไปที่บริเวณผิวภาชนะด้านใน โดยเริ่มเจีรตรงศูนย์กลางของก้นภาชนะก่อนแล้วค่อย ๆ ออกมาด้านนอก จนถึงด้านข้าง
6. อันดับที่สองก็ใช้ เหล็กรอง หรือ เหล็กปัด เจียรเพื่อให้เนื้อสำริดหมดรอยจากขั้นตอน
เหล็กกระดำ และเพื่อทำให้เนื้อเนียนขึ้นมาในระดับหนึ่ง โดยเริ่มเจียรตรงศูนย์กลางของก้นภาชนะก่อนแล้วค่อย ๆ ออกมาด้านนอกจนถึงด้านข้าง
7.
 
อันดับที่สามก็ใช้ เหล็กดินละเอียด เจียรเพื่อให้เนื้อสำริดหมดรอยจากขั้นตอน เหล็ก
ปัด และเพื่อทำให้เนื้อเนียนในที่สุด
8.
 
เมื่อทำการกลึงเสร็จแล้วก็เอาภาชนะออกจากภมรได้เลย โดยใช้ท่อนไม่เคาะออกหรือ
ดึงออก
9.
 นำเหล็กตะไบธรรมดาไม่มีหัว มาเคาะบริเวณที่มาชันไว้ ชันก็จะออกได้โดยง่าย

 ขั้นตอนที่ 5 การกรอปาก
 การกรอ หมายถึง การกรอปากภาชนะให้เสมอกัน
อุปกรณ์
1.
 มอเตอร์ไฟฟ้า ในสมัยโบราณใช้แต่ตะเกียงเพียงอย่างเดียวในการกรอปาก
2.
 
หินขัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว ราคา 600 บาทซื้อที่วรจักรใช้ได้
ประมาณ 1
2 เดือน โดยขึ้นอยู่กับผู้กรอด้วย
3.
 
กะละมังพร้อมน้ำ
4.
 ผ้าจับขัน ต้องใช้ผ้าจับขันเวลากรอปากเพราะขันจะร้อนมาก

ขั้นตอนกรอปากขัน
1.
 นำปากขันไปกรอกับหินขัดที่ติดอยู่กับมอเตอร์ไฟฟ้า โดยกรอลงประมาณ 0.5
เซนติเมตร (กรอบริเวณที่ช่างลายเว้นไว้)
2.
 
เวลากรอปากขันต้อคอยสังเกตว่าปากขันเรียบเท่ากันหรือไม่
3.
 
ต้องนำกะละมังใส่น้ำไปรองไว้ใต้หินขัด เพื่อรองเศษผงทองที่ได้จากการกรอปาก
เพื่อเอาทองเหล่านี้ไปหลอมเป็นสำริดใหม่
ขั้นตอนที่ 6 การเก็บเม็ด – การแต่ง และการขัดเงา
การเก็บเม็ดและการแต่ง

 การเก็บเม็ด หมายถึง การแต่งผิวภาชนะให้เรียบเพื่อไม่ให้มีริ้วรอยต่าง ๆ ใด ๆ เช่น รอยจากการลาย รอยจากกลึง บนผิวภาชนะ ซึ่งช่างจะเรียกริ้วรอยต่าง ๆ ว่า เม็ด ดังนั้นจึงเรียกวิธีนี้ว่า  เก็บเม็ด

          การแต่ง หมายถึง การแต่งผิวให้เรียบขึ้น เพื่อง่ายต่อการขัดผิว ถ้าเราไม่แต่ผิวให้เรียบเวลานำภาชนะไปขัดผิว ไปขีดผิวให้เงาจะขัดยากใช้เวลานาน การเก็บเม็ดจะควบคู่กับการแต่งผิวในขั้นตอนเดียวเลยต่างแต่การใช้ใบแผ่นเจียร คือ การเก็บเม็ดจะใช้แผ่นเจียรโลหะเนื้อหยาบเก็บริ้วรอยต่าง ๆ  บนผิวภาชนะ โดยเจียรเฉพาะตรงส่วนที่มีริ้วรอยเท่านั้น ถ้าไม่มีก็ต้องเก็บเม็ด ต่อจากนั้นคือการแต่งผิว โดยจะใช้แผ่นเจียรโลหะเนื้อละเอียด ตกแต่งผิวภาชนะทั้งใบ และริ้วริยอันเกิดมาจากการเก็บเม็ดเพื่อให้ผิวภาชนะเรียบขึ้นง่ายต่อการขัดผิว ถ้ามีการกลึงดำมา (กลึงแต่ข้างในให้เป็นสีทอง ส่วนข้างนอกปล่อยให้เป็นสีดำ) เก็บเม็ดและตกแต่งเฉพาะส่วนที่กลึงมาเท่านั้น (เฉพาะส่วนที่เป็นสีทอง) แต่ถ้ามีการกลึงขาวมา (กลึงทั้งข้างในและข้างนอกให้เป็นสีทอง) ก็เก็บเม็ดและแต่งทั้งใบ

อุปกรณ์
1.
 เครื่องเจียรไฟฟ้า
2.
 
แผ่นเจียรโลหะเนื้อหยาบ จะคล้ายกระดาษทรายหยาบ
3.
 
แผ่นเจียรโลหะเนื้อละเอียด จะคล้ายกระดาษทรายละเอียด
4.
 กรรไกร ใช้ในการตัดแต่งแผ่นเจียรเมื่อแผ่นเจียรสึก หรือเจียรแล้วริ้วรอยต่างเรียบ


ขั้นตอนการเก็บเม็ดและแต่ง
1.
 การเก็บเม็ด โดยการนำภาชนะทำการเจียริ้วรอยต่าง ๆ ให้หมกไป โดยใช้แผ่นเจียร
เนื้อหยาบเจียรเฉพาะบริเวณที่มีริ้วรอยนั้น ถ้าไม่มีริ้วรอยก็ไม่ต้องเจียร ก็ให้ข้ามขั้นไปแต่งผิวได้เลย
2.
 
การตกแต่งผิวภาชนะที่ผ่านการเก็บริ้วรอยแล้วด้วยการเจียรขัดผิวภาชนะด้วยแผ่น
เจียรเนื้อละเอียด โดยต้องเจียรผิวภาชนะทั้งใบเพื่อให้ผิวภาชนะเรียบขึ้น เพื่อที่จะง่าต่อการขัดผิวต่อ ถ้าเราไม่แต่งผิวให้เรียบขึ้นจะทำการขัดผิวยากขึ้น
การขัดเงา คือ การขัดผิวภาชนะให้เกิดความเรียบ และมันวาว เพื่อการส่งไปจำหน่ายหรือการนำไปเกะลายอีกที
ช่างที่สำคัญ
1.
 ช่างตี
ช่างตีเป็นงานที่รวมช่างหลอม ช่างแผ่ และช่างตีไว้ในขั้นตอนเดียวกันโดยหลอมทองแดง
, ดีบุก ,
ทองม้าล่อในเข้าเมื่อละลายเทใส่ดินงันทิ้งให้เย็นจะได้ทองก้อน จากนั้นทุบให้ได้ขนาด ตีขึ้นรูปเผาไฟและลงน้ำ
2.
 
ช่างลาย
ทำหน้าที่ตีเก็บรอยค้อน เพื่อให้ภาชนะเรียบ ตึง โดยภาชนะต้องทาดินหม้อเพื่อไม่ให้ฝืดเวลาตี จากนั้นครอบลงบนกระล่อนใช้ค้อนหัวกลม ขยับตีเก็บรอยค้อนจนชั้นเป็นลายทั่วทั้งใบ เรียกว่า
 
การลายภาชนะ
3.
 
ช่างกรอ
เดิมเรียกว่า ช่างตะไบ เพราะช่างใช้ตะไบเป็นเครื่องมือในการตกแต่งผิวภาชนะ ปัจจุบัน
ใช้เครื่องกรอไฟฟ้าแต่งขอบปากภาชนะให้กลม
4.
 
ช่างเจีย
สมัยก่อนไม่มีขั้นตอนนี้ ปัจจุบันประยุกต์ใช้เครื่องเจียไฟฟ้าเพื่อตกแต่งรอยตำหนิต่าง ๆ
บนผิวภาชนะ
5.
 
ช่างกลึง
กลึงภาชนะให้เรียบเสมอกันกลึงกับภมรและเหล็กกลึง การกลึงต้องนำภาชนะติดกับหน้า
ภมรโดยใช้ชันผสมไขเนื้อ ตั้งไฟให้อ่อนแล้วทาที่ภาชนะติดกับหน้าภมร ขั้นนี้จะได้ภาชนะสีทองลาย
6.
 
ช่างขัด
ช่างโบราณใช้หินขัดเนื้อละเอียดขัดภาชนะให้ขึ้นเงา ต่อมาช่างบ้านบุใช้เบ้าดินเผาผสมกับ
น้ำมะพร้าวห่อผ้ากลิ้งไปกับภาชนะ ปัจจุบันใช้เครื่องปั่นมอเตอร์ติดกับลูกทรายและลูกผ้า ขัดเป็นขันตอนสุดท้าย
การแบ่งหน้าที่การทำงานของช่างทั้ง 6 ขั้นตอน
1.
 ช่างตี
2.
 
ช่างลาย
3.
 
ช่างกลึง
4.
 
ช่างกรอ
5.
 
ช่างเจีย
6.
 ช่างขัด
ช่างตีเป็นช่างที่รวมช่างหลอม ช่างแผ่ และช่างตีไว้ในขั้นตอนเดียวกัน ในปัจจุบันช่างตีจะต้องเป็นผู้มีความรู้ในการผสมโลหะด้วย สิ่งสำคัญต้องผสมโลหะให้ได้เนื้อทองที่เหนียวเหมาะแก่งานบุ การได้โลหะที่ผสมดีแล้วจึงเป็นความสะดวกอย่างยิ่ง ช่างโบราณเมื่อราวรัชกาลที่ 3 4 จึงพอใจใช้ทองเก่า 2 ชนิด คือ ทองใบไม้ หมายถึง เศษทองสำริดที่ได้จากขันแตกชำรุด และทองม้าล่อ หรือ ทองฉาบ หมายถึงทองจากเครื่องดนตรีสัมฤทธิ์ของจีนประเภทม้าล่อ ฝาง ปละฉาบที่แตกชำรุด ใช้เป็นส่วนผสมในการหลอมโลหะ ทองชนิดนี้พ่อค้าชาวจีนนำเข้ามาจำหน่ายให้กับช่าง ต่อมาวัตถุดิบหายากขึ้น ช่างจึงผสมโลหะขึ้นใช้เอง ในอัตราส่วนทองแดง 7 ส่วน ดีบุก 2 ส่วน และเศษสำริด 1 ส่วน นำมาย่อยลงเบ้าหลอมบนเตาตี
เตาตี เป็นเตาแบบโบราณ ทำด้วยอิฐสอดิน ก่อสูงราว 1 ศอก กลางเตาทำเป็นหลุมกระทะ ข้างล่างมีช่องต่อกับท่อลม เดิมใช้สูบลมด้วยมือ ช่างหลอมต้องมีผู้ช่วยสูบ 1 คน ซึ่งอาจเป็นช่างมือสอง เด็ก หรือผู้หญิงที่มีความเชี่ยวชาญในการชักสูบโหมไฟให้สม่ำเสมอ ปัจจุบันนี้พัฒนามาใช้พัดมอเตอร์เป็นตัวเร่งไฟให้ร้อน โดยใช้ถ่านไม่ซาก โดยใช้ถ่านไม้ซากซึ่งเป็นถ่านไส้คุณภาพดีเป็นเชื้อเพลิง
การหลอมช่างจะวางเบ้าโลหะลงในแอ่งกลางเตา กลบถ่าน แล้วโหมไฟอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งโลหะหลอมละลายเป็นน้ำทองเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ขั้นตอนนี้ช่างต้องใช้ความชำนาญสังเกตอูเนื้อโลหะ หากน้ำทองยังมีสีขุ่นยังเททองไม่ได้ ต้องรอให้น้ำทองได้สีแดงเรื่อแบบลูกหนู อย่างที่ช่างเรียกว่า กินตา ดีแล้วจึงจะนำเทลงบนพิมพ์ดินเผา ศัพท์ช่างเรียกว่า ดินงัน ดินงันมีรูปทรงกลมเนื้อหนา หน้าเป็นหลุมตื้น ๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่าง ๆ กัน การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับภาชนะที่เราจะทำ ก่อนเททองช่างจะใช้น้ำมันขี้โล้หรือปัจจุบันใช้น้ำมันโซลาเทลงบนผิวดินวันก่อน เพื่อให้น้ำทองแลนไม่ฝืด เมื่อเททองแล้วใช้พัดกระพือลมให้ทองเย็นตัวลงช้า ๆ จะได้เป็นทองก่อน มีขนาดความกว้างและหนาเท่ากับหน้าของดินงัน
การทิ้งให้ทองก้อนเย็นลงอย่างช้า ๆ ทำให้ทองมีความอ่อน เหมาะแก่การตี จากนั้นจึงนำทองก้อนมาเผาไฟให้แดงแล้วตีแผ่บนทั่งเหล็ก ใกล้กับทั่งมีเติ่ง คือ ก้อนหินธรรมชาติ ช่างนำมาวางไว้หน้าทั่งหนุนฐานดินให้สูงอยู่ในระดับเดียวกัน เติ่งจะช่วยบังคับรูปทองที่ตีแผ่ออกให้อยู่ในมุมที่ช่างต้องการ คนตีมี 1
2 คน ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของภาชนะและชิ้นงาน เวลาตีช่างจะใช้คีมคีบแผ่นทองไว้ให้แน่น ใช้ค้อนตีรีดไล่กันไปโดยขยับเลื่อนไปทีละนิด จนกระทั่งทองเกือบจะเย็นลง สังเกตจากผิวทองเป็นสีดำ ก็นำไปเผาไฟใหม่ตีแผ่ออกไปเรื่อย ๆ จนโตกลมได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ต้องการแล้วตีตะแคงขึ้นขอบจากก้นขึ้นไปหาปากภาชนะ ให้ได้รูปคราว ๆ แล้วตึแตกรูปภาชนะอักครั้งหนึ่งด้วยค้อนแต่ง เป็นค้อนไม้หรือค้อนเหล็ก ลักษณะหัวค้อนเป็นสัน ค่อย ๆ ตีแต่งบนกลางหรือทั้งไม้ที่ขุดเป็นเบ้าไว้รับรูปภาชนะ นำภาชนะที่แต่งรูปสมบูรณ์เผาไฟขั้นสุดท้ายจนสุกแดงแล้วนำจุ่มน้ำ เพื่อให้ทองเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว อันเป็นกรรมวิธีทำให้โลหะมีความแข็งและมีผิวทนทานต่อการสึกหรอช่างลาย  ทำหน้าที่ตีเก็บรอยค้อนทำให้เนื้อภาชนะเรียบเสมอกัน ก่อนตีลายต้องทาภาชนะด้วยดินหม้อให้ทั่ว เพื่อให้ผิวภาชนะมีความลื่น ไม่ฝืดเวลาตี นำภาชนะที่เตรียมทาดินหม้อไว้ครอบลงบนกระล่อน คือ แท่งเหล็กหัวกลมมน มีขนาดความสูงราว 15 16 นิ้ว หน้ากว้างราว 2 นิ้ว ใช้เป็นตัวรองรับภาชนะภายใน ภายนอกใช้ค้อนหัวกลมค่อยขยับตีเก็บรอยค้อนจนขึ้นเป็นลายทั่วทั้งใบ เรียกว่า การลายภาชนะช่างกลึง  กลึงผิวภาชนะให้เรียบเสมอกัน เครื่องมือของช่างกลึงที่สำคัญประกอบด้วยภมรและเหลกกลึง ภมรแบบดั้งเดิมเป็นภมรที่ทำจากไม้เนื้อแข็งเป็นท่อนกลมตรงกลางปากเป็นร่องมีแท่นรองรับสูงขนาดนั่งกลึงภาชนะกับพื้นได้โดยสะดวก หมุนได้โดยมีคันโยกทำจากไม้ไผ่ 2 ลำผูกติดไขว้กันไว้กับขื่อบ้านปลายคันทั้งสองข้างร้อยด้วยหนังพันไว้รอบแกนภมร เมื่อโยกคันไม้ไผแกนของภมรจะหมุนไปมาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันใช้ภมรต่อกับมอเตอร์หมุนได้ 2 ด้าน การกลึงต้องนำภาชนะติดกับหน้าภมร โดยใช้ชันผสมไขเนื้อตั้งไฟ ทาชันเคี่ยวที่ภาชนะนำไปติดกับหน้าภมร ชันเมื่อเย็นลงจะแข็งติดแน่นกับภมร โยกคันภมรให้หมุน กดเหล็กกลึงขูดบนผิวภาชนะแต่งให้เรียบทั่วทั้งใบโดยอาศัยแรงเหวี่ยงจากภมร นำภาชนะออกเปลี่ยนกลึงด้วยวิธีเดียวกัน จนเรียบเสมอทั้งสองด้าน ขั้นตอนนี้จะได้ภาชนะที่มีสีทองสุกปลั่งมีผิวเรียบช่างกรอ  เดิมเรียกว่า ช่างตะไบ เพราะช่างใช้ตะไบเป็นเครื่องมือในการตกแต่งผิวภาชนะ ปัจจุบันใช้เครื่องกรอไฟฟ้าแต่งขอบปากภาชนะให้กลมช่างเจีย  สมัยก่อนไม่มีขั้นตอนนี้ ปัจจุบันประยุกต์ใช้เครื่องเจียไฟฟ้า เพื่อตกแต่งรอยตำหนิต่าง ๆ บนผิวภาชนะช่างขัด  ช่างโบราณให้หินเนื้อละเอียดอย่างหินลับมีดทั้งก้อนขัดภาชนะให้ขึ้นเงา ต่อมาช่างบ้านบุใช้เบ้าดินเผาที่ใช้แล้ว มีเนื้อแกร่งเหมือนหิน บดให้ย่อยผสมกับน้ำมันมะพร้าวห่อผ้าหมุนกลิ้งไปกับเนื้อภาชนะ เรียกว่า เหยียบเบ้า ปัจจุบันใช้เครื่องปั่นมอเตอร์ติดลูกทรายและลูกผ้า ขัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายขั้นตอนการผลิตดังกล่าว ช่างต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญที่สั่งสมเพาะบ่มสืบทอดกันเป็นระยะเวลาอันยาวนานจากนายช่างสู่ลูกมือ จากพ่อแม่สู่ลูกหลาน โดยการสังเกตเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและทดลองค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ จนได้ผลงานที่มีคุณภาพดี ควรค่าแก่การภาคภูมิใจ
















บรรณานุกรม
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา              
                   http://library.bsru.ac.th/rLocal/ (.สืบค้นเมื่อวันที่ 6มกราคม 2555).