วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ห้องสมุด 3ดีคืออะไรใครอยากรู้

ห้องสมุด 3 ดี
      ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายในการพัฒนาห้องสมุดทุกแห่งให้เป็นห้องสมุด 3 ดี คือ หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต 1 ให้มีคุณลักษณะดังกล่าว จึงขอทำความเข้าใจคำว่าห้องสมุด 3 ดี ดังนี้
      
ดี 1 หนังสือดี และสื่อการเรียนรู้ดี หมายถึง หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เนื้อหาสาระถูกต้อง ไม่เป็นพิษเป็นภัยและตรงใจผู้อ่านในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านและสร้างสรรค์ปัญญา
      
ดี 2 บรรยากาศ และสถานที่ดี หมายถึง ห้องสมุดที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า อุดมไปด้วยความรู้ ความบันเทิง อบอวลไปด้วยมิตรภาพ สะอาด ร่มรื่น ปลอดโปร่ง และปลอดภัยสำหรับทุกคนที่ใช้บริการ และต้องมีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องสมุดครบครัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เครื่องถ่ายเอกสาร มีการจัดวางหนังสือให้ชวนเด็กหยิบอ่าน อากาศภายในเย็นสบาย กิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านน่าสนใจ
      ดี 3 บรรณารักษ์ และกิจกรรมดี หมายถึง ครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในงานห้องสมุด มีอัธยาศัยน้ำใจดี มีจิตบริการ ทำงานระดับ "มืออาชีพ" เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ในห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ มีความรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล ทันสมัย ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านและการเรียนรู้ เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี และปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

ข้อเสนอแนะ แนวปฏิบัติไปสู่ห้องสมุด 3 ดี
      ดี 1 หนังสือดี และสื่อการเรียนรู้ดี           1. มีการวิเคราะห์ จัดหา จัดทำ รายชื่อหนังสือ/สื่อการเรียนรู้ในรูปของคณะกรรมการดำเนินการ
          
2. มีการวิเคราะห์ จัดหา จัดทำ รายชื่อหนังสือ/สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ หนังสือส่งเสริมการอ่านประเภทต่าง ๆ ที่คัดเลือกโดย สพฐ. และองค์กรหน่วยงานอื่น ๆ
          
3. มีการวิเคราะห์ จัดหา จัดทำ รายชื่อสื่อมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
          
4. มีการจัดทำ พัฒนา และตรวจสอบคุณภาพหนังสือ/สื่อการเรียนรู้
          
5. มีการจัดทำ พัฒนา จัดหาสื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) และสื่อมัลติมีเดีย
           6. มีการจัดประกวด จัดหาหนังสือเล่มเล็กในระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาหนังสือดี มีคุณภาพ และมีหนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมมากขึ้น

      ดี 2 บรรยากาศ และสถานที่ดี           1. มีการพัฒนาจัดห้องสมุดแนวใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอาคารของโรงเรียน
          
2. ปรับปรุง ซ่อมแซม ตบแต่งห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
          
3. จัดมุมเทิดพระเกียรติฯ มุมหนังสือใหม่ มุมสบาย มุมสืบค้นอินเตอร์เน็ต มุมดูหนังฟังเพลง มุมนิทรรศการ ฯลฯ ให้เป็นสัดส่วน สะดวกในการใช้งาน และไม่รบกวนผู้อื่น
           4. มีการติดต่อ ส่งเสริม และสนับสนุนด้านความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี

      ดี 3 บรรณารักษ์ และกิจกรรมดี           1. มีครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ และนักเรียนช่วยงานห้องสมุดในรูปคณะกรรมการ
          
2. จัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อส่งเสริมการอ่านและรักการเรียนรู้
          
3. จัดสถานที่ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศห้องสมุดให้เอื้อต่อการเรียนรู้
          
4. จัดหมวดหมู่และทำรายการด้วยฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์
          
5. ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวกต่อการเข้าถึงและใช้บริการ
          
6. จัดทำระเบียบ/ตารางการใช้ห้องสมุดที่ชัดเจน
          
7. จัดบริการ แนะนำการใช้ห้องสมุด การยืม-คืน และการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และทางอินเตอร์เน็ต
           8. จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอย่างหลากหลายและต่อเนื

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เนื้อหาสาระดีมากเลยค่ะ ขอชมเชย

แสดงความคิดเห็น