วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือทำให้ฉลาดขึ้น

           การอ่านหนังสือ เป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญมากอ่านแล้วเราได้อะไร การอ่านหนังสือเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากการทำกิจกรรม การเรียนและการทำงาน การอ่านหนังสือจะทำให้เกิดปัญญาเกิดความรู้ เกิดความเข้าใจ เกิดประสบการใหม่ เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดความคิดที่ให้เกิดความสร้างสรรค์ ช่วยให้พัฒนาตนเอง และรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข ดันนั้น การอ่านจึงมิได้เพียงแต่อ่านเป็น แต่เป็นการอ่านแล้วนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ จึงจะถือว่าเป็นการอ่านที่สมบูรณ์ การอ่านหนังสือจึงมีความสำคัญและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมความสำเร็จในชีวิต

           เทคนิคการอ่านหนังสือ
-  เริ่มจากการอ่านหนังสือที่เราชอบ
-  หาแรงบรรดาลใจเช่น เช่น บุคลที่เราชื่นชอบ เราก็แค่ไปศึกษาอ่านประวัติของเขา หรือจะเป็นหาบุคคลตนแบบที่เขาประสบความสำเร็จที่เราชื่นชอบก็ได้
-  พยายามอ่านสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเราบ่อยๆ เช่น บทความที่ติดประกาศ ป้ายโฆษณา ทุกอย่างถือเป็นความรู้ใหม่ที่เราจะได้รับ

           เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ
           เคยไหมว่าเวลาอ่านหนังสือสอบทีไรเหมือนหนังสือเรียนเป็นยานอนหลับชั้นดีที่เวลาอ่านทีไรรู้สึกง่วงนอนทุกที  เวลาเราจะอ่านหนังสือสอบเราอย่าเร่งอ่านหนังสือเพียงก่อนสอบวันเดียวเพราะบางทีสมองเรามันก็ไม่สามารถที่จะรับได้ เราสามารถเตรียมตัวสอบได้ดังนี้
-  เวลาเรียนอ่านก่อนและทบทวนหลังเรียนทุกครั้ง
-  ช่วงเวลาที่ทำให้เราจดจำได้ดีคือช่วงเวลา 04.00 น.- 07.00 น. อ่านหนังสือช่วงนี้จะทำให้เราจดจำได้ดี
-  เวลาอ่านหนังสือพยายามอ่านหนังสือคนเดียว เพราะบางทีเราอ่านหนังสือกับเพื่อนมันจะเป็นการคุยกันมากกว่าการอ่านหนังสือ
-  ขณะอ่านหนังสือควรกินน้ำบ่อย ๆ เพราะจะทำให้สมองเรารู้สึกผ่อนคาย
           เทคนิคต่าง ๆ เราสามารถปรับใช้ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้อยู่กับตัวเราว่าจะ ตั้งจุดมุ้งหมายไว้เพียงใด ก่อนจะทำอะไรเราก็ต้องมีวัตถุประสงค์ มีเป้าหมาย ทุกอย่างเราเป็นคนกำหนดตัวเราเองสิ่งแวดล้อมข้าง ๆ เป็นเพียงเส้นบาง ๆ ที่จะทำให้เรามีแรงกระตุ้นให้เราประสบความสำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บรรณารักษ์ยุคใหม่

          บรรณารักษ์จะต้องตื่นตัว และเปลี่ยนความคิดจากการเป็นผู้จัดหนังสือ เป็นผู้จัดรวบรวม เรียบเรียง และนำเสนอความรู้ให้กับผู้ใช้บริการทุกระดับเพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานต่อ จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์
           ความรู้และทักษะที่บรรณารักษ์จะต้องมีดังนี้
 - ความรู้ด้านไอที หรือความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
 - ความรู้ด้านการจัดการและบริหารงานสมัยใหม่
 - มีทักษะและเข้าใจหลักในการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
 - รู้จักสื่อในยุคใหม่ๆ (New Media)
 - รู้จักและเข้าใจการใช้งานของเว็บไซต์


           นอกจากจะต้องเชี่ยวชาญในเรื่องของ IT แล้ว บรรณารักษ์ยุคใหม่จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา คือ มีการจัดการความรู้ โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ ดังนี้
  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( Knowledge  Forum /Sharing )  คือการจัดประชุมหรือกิจกรรมเพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรในองค์กรได้พบปะพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อให้เกิดการกระจายความรู้
  2.  ชุมชนนักปฎิบัติ  (Community  of  practice : Cop )  เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกันมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วกัน
  3.  งานวิจัยสู่การปฏิบัติ  (RToR ) การพัมนางานประจา ที่ปฏิบัติอยู่ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานภายในห้องสมุด และภายนอกห้องสมุดที่สนใจ

            ซึ่งในการจัดการความรู้สิ่งที่จะได้คือได้องค์ความรู้จากบุลคลที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีคลังความรู้ที่จะพัฒนางาน

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ห้องสมุดมีชีวิต

        ปัจจุบัน ห้องสมุดมีชีวิต
ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในประเทศไทย
กระทรวงศึกษาธิการได้ให้นโยบายในการพัฒนาการศึกษา
และการเรียนรู้ของไทยว่าควรทำให้ห้องสมุดมีชีวิต
ห้องสมุดมีชีวิตจึงเป็นคำอุปมาที่มีความหมายได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับการนำมาใช้

        "ห้องสมุดมีชีวิต" (Living Library)
หมายถึง ห้องสมุดที่มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัยครบถ้วน
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืนสำหรับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย
ด้วยบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีบริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


          และในส่วนนี้ดิฉันก็มีภาพห้องสมุดมีชีวิตมาฝากค่ะ











วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ห้องสมุด 3ดีคืออะไรใครอยากรู้

ห้องสมุด 3 ดี
      ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายในการพัฒนาห้องสมุดทุกแห่งให้เป็นห้องสมุด 3 ดี คือ หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต 1 ให้มีคุณลักษณะดังกล่าว จึงขอทำความเข้าใจคำว่าห้องสมุด 3 ดี ดังนี้
      
ดี 1 หนังสือดี และสื่อการเรียนรู้ดี หมายถึง หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เนื้อหาสาระถูกต้อง ไม่เป็นพิษเป็นภัยและตรงใจผู้อ่านในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านและสร้างสรรค์ปัญญา
      
ดี 2 บรรยากาศ และสถานที่ดี หมายถึง ห้องสมุดที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า อุดมไปด้วยความรู้ ความบันเทิง อบอวลไปด้วยมิตรภาพ สะอาด ร่มรื่น ปลอดโปร่ง และปลอดภัยสำหรับทุกคนที่ใช้บริการ และต้องมีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องสมุดครบครัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เครื่องถ่ายเอกสาร มีการจัดวางหนังสือให้ชวนเด็กหยิบอ่าน อากาศภายในเย็นสบาย กิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านน่าสนใจ
      ดี 3 บรรณารักษ์ และกิจกรรมดี หมายถึง ครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในงานห้องสมุด มีอัธยาศัยน้ำใจดี มีจิตบริการ ทำงานระดับ "มืออาชีพ" เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ในห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ มีความรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล ทันสมัย ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านและการเรียนรู้ เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี และปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

ข้อเสนอแนะ แนวปฏิบัติไปสู่ห้องสมุด 3 ดี
      ดี 1 หนังสือดี และสื่อการเรียนรู้ดี           1. มีการวิเคราะห์ จัดหา จัดทำ รายชื่อหนังสือ/สื่อการเรียนรู้ในรูปของคณะกรรมการดำเนินการ
          
2. มีการวิเคราะห์ จัดหา จัดทำ รายชื่อหนังสือ/สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ หนังสือส่งเสริมการอ่านประเภทต่าง ๆ ที่คัดเลือกโดย สพฐ. และองค์กรหน่วยงานอื่น ๆ
          
3. มีการวิเคราะห์ จัดหา จัดทำ รายชื่อสื่อมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
          
4. มีการจัดทำ พัฒนา และตรวจสอบคุณภาพหนังสือ/สื่อการเรียนรู้
          
5. มีการจัดทำ พัฒนา จัดหาสื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) และสื่อมัลติมีเดีย
           6. มีการจัดประกวด จัดหาหนังสือเล่มเล็กในระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาหนังสือดี มีคุณภาพ และมีหนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมมากขึ้น

      ดี 2 บรรยากาศ และสถานที่ดี           1. มีการพัฒนาจัดห้องสมุดแนวใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอาคารของโรงเรียน
          
2. ปรับปรุง ซ่อมแซม ตบแต่งห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
          
3. จัดมุมเทิดพระเกียรติฯ มุมหนังสือใหม่ มุมสบาย มุมสืบค้นอินเตอร์เน็ต มุมดูหนังฟังเพลง มุมนิทรรศการ ฯลฯ ให้เป็นสัดส่วน สะดวกในการใช้งาน และไม่รบกวนผู้อื่น
           4. มีการติดต่อ ส่งเสริม และสนับสนุนด้านความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี

      ดี 3 บรรณารักษ์ และกิจกรรมดี           1. มีครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ และนักเรียนช่วยงานห้องสมุดในรูปคณะกรรมการ
          
2. จัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อส่งเสริมการอ่านและรักการเรียนรู้
          
3. จัดสถานที่ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศห้องสมุดให้เอื้อต่อการเรียนรู้
          
4. จัดหมวดหมู่และทำรายการด้วยฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์
          
5. ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวกต่อการเข้าถึงและใช้บริการ
          
6. จัดทำระเบียบ/ตารางการใช้ห้องสมุดที่ชัดเจน
          
7. จัดบริการ แนะนำการใช้ห้องสมุด การยืม-คืน และการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และทางอินเตอร์เน็ต
           8. จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านอย่างหลากหลายและต่อเนื