วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักเขียนที่ติดตามผลงาน


ณิชา  ตันติเฉลิมสิน ( ณารา)

             ณิชา ตันติเฉลิมสิน เป็นเจ้าของนามปากกา ณารา นักเขียนโรมานซ์ของสำนักพิมพ์พิมพ์คำ เกิดที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่[1] จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยพายัพ สาขาการเงินการธนาคาร ได้เดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พอสำเร็จการศึกษาก็กลับมาทำงานที่บริษัทการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จนกระทั่งฟองสบู่แตก จึงออกจากงานมาเป็นแม่บ้าน[1] พร้อมกับช่วยทำงานที่บริษัทของสามีในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคล จากนั้นเธอก็เริ่มต้นการเขียนนิยายจากการแปลนิยายให้กับสำนักพิมพ์แก้วกานต์[1] หลังจากนั้นได้เกิดพล็อตนิยายเรื่องปฏิบัติการล่า ตามหาหัวใจ ซึ่งเป็นนิยายเล่มแรก ผลงานที่ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์คือ ธาราหิมาลัย กลรักลวงใจ ส้มหวานน้ำตาลเปรี้ยว ปลาไหลป้ายแดง[2]

                ผลงานที่ดิฉันชื่นชอบคือเรื่อง กลรักลวงใจ นักรบแห่งมาซิดอน และ ไฟฝันวันรัก

                                                                             ข้อมูลจาก  http://th.wikipedia.org

แนะนำนักเขียนในดวงใจ


คุณสุภา สิริสิงห ( โบตั๋น)

             คุณสุภา สิริสิงห (โบตั๋น) เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ที่อำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี ปั ท่านเข้าเรียนชั้นประถมจนถึงชั้นมัธยมปีที่ ๓ ที่โรงเรียนสุธรรมศึกษา จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัฒนะศึกษาและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ตามลำดับ ก่อนที่จะสอบเข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกภาษาอังกฤษและภาษาไทย และสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต เมื่อปี ๒๕๐๙

       เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว คุณสุภาได้เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นครูโรงเรียนราษฎร์แห่งหนึ่งในระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นก็ได้เข้าทำงานที่นิตยสารชัยพฤกษ์ ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับเด็ก ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช เป็นเวลา ๓ ปี ก็ได้ลาออกไปทำงานแปลกับบริษัทประชาสัมพันธ์ของชาวต่างประเทศอยู่อีกช่วงหนึ่ง ครั้นถึงปี ๒๕๑๕ จึงได้เข้าร่วมงานกับนิตยสารสตรีสารรายสัปดาห์ โดยได้ทำงานในส่วนของสตรีสารภาคพิเศษสำหรับเด็ก ต่อมาได้เข้าทำงานประจำเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจแบบเรียนของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชไปด้วยจนกระทั่งลาออกมาเพื่อจัดตั้งสำนักพิมพ์ชมรมเด็ก ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กเป็นหลัก ต่อมาก็ได้จัดตั้งสำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์นขึ้นแทนชมรมเด็กที่เปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้จำหน่ายหนังสือสำหรับเด็ก

       ชีวิตการเป็นนักเขียนของ คุณสุภา สิริสิงห เริ่มขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ยังเรียนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ “ไอ้ดำ” โดยใช้นามปากกาว่า “ทิพเกษร” ลงตีพิมพ์ในนิตยสารขวัญจิต ส่วนนามปากกา “โบตั๋น” อันลือเลื่องนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๐๘ โดยคุณสุภาได้ใช้นามปากกานี้เขียนนวนิยายเรื่อง “น้ำใจ” เพื่อตีพิมพ์ในนิตยสารสตรีสาร จากนั้นก็ได้ใช้นามปากกา โบตั๋น นี้ ในงานประพันธ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

       ผลงานการประพันธ์ที่ทำให้ชื่อเสียงคุณสุภา ในนามปากกาโบตั๋น เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายก็คือนวนิยายเรื่อง “จดหมายจากเมืองไทย” ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารสตรีสาร ระหว่างปี ๒๕๑๑-๒๕๑๒ นวนิยายเรื่องนี้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและประสบความสำเร็จได้รับรางวัลวรรณกรรมดีเด่นจากองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกกันว่า “รางวัลซีโต้” หรือ รางวัล “ส.ป.อ.” ประจำปี ๒๕๑๒ หลังจากนั้น ท่านก็ได้สร้างสรรค์ผลงานประพันธ์อันทรงคุณค่าออกมาอีกมากมายทั้งประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือสำหรับเด็ก

       ผลงานนวนิยายโดยหลักของคุณสุภา มีเนื้อหาที่สะท้อนถึงสภาพและปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้นจริง โดยมุ่งเสนอเรื่องราวให้ผู้อ่านได้รับทั้งสาระและความบันเทิงบนพื้นฐานของการส่งเสริมศีลธรรมอันดีงาม ทั้งกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดจิตสำนึกต่อปัญหาของสังคมด้วยลีลาและชั้นเชิงทางวรรรศิลป์ที่เฉียบคม ตัวอย่างนวนิยายของท่านที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้แก่ จดหมายจากเมืองไทย ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด ตราไว้ในดวงจิต สุดแต่ใจจะไขว่คว้า กว่าจะรู้เดียงสา ทองเนื้อเก้า วัยบริสุทธิ์ เกิดแต่ตม บัวแล้งน้ำ ตะวันชิงพลบ ฯลฯ

       ในด้านของผลงานประเภทเรื่องสั้นนั้น คุณสุภาก็ได้แต่งเอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยลงพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ นับจนถึงปัจจุบันนี้ได้จัดพิมพ์รวมเล่มแล้ว ๔ เล่ม คือ แก้วสามดวง รักวัวให้ผูก รักลูกให้... คืนเหงา และฟ้าชอุ่มฝน

       ส่วนผลงานประเภทหนังสือสำหรับเด็กนั้นนับเป็นงานที่คุณสุภารักและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยมีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารชัยพฤกษ์ สตรีสารภาคเด็ก หน้าเด็กในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ชมรมเด็กและอื่นๆ อีกหลายเล่ม ตลอดจนจัดคอลัมน์ตอบปัญหาของเด็กที่เขียนจดหมายเข้ามาเป็นจำนวนมากมาย โดยใช้นามปากกาว่า “ปิยตา” และ “ปิยตา วนนันทน์” และบางเรื่องก็ใช้นามจริง ผลงานทางด้านนี้ของคุณสุภามีทั้งที่เป็นเรื่องแต่ง เรื่องแปล และเรื่องที่ดัดแปลง ผลงานสำหรับเด็กที่รวมพิมพ์เป็นเล่มแล้ว ได้แก่ นิทานหลายรส นิทานสัตว์รอบโลก ลูกไก่แสนสวย นกบินไม่ได้ สวนสวรรค์ รวมเรื่องสั้นสำหรับเด็กนานาชาติ เล่าเรื่องพระอภัยมณี เล่าเรื่องสามก๊ก สัตว์เลี้ยงแสนรัก สมุดภาพไดโนเสาร์ ฯลฯ

       นอกจากผลงานของ คุณสุภา สิริสิงห จะเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่คนไทยแล้ว ยังมีผลงานหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวนิยายเรื่องจดหมายจากเมืองไทยนั้น มีผู้นำไปแปลเป็นภาษาต่างประเทศถึง ๑๐ ภาษา และยังมีผลงานอีกมากมายที่มีผู้นำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ ได้แก่ จดหมายจากเมืองไทย ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด กว่าจะรู้เดียงสา สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ทองเนื้อเก้า ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก บัวแล้งน้ำ ไม้ดัด ตะวันชิงพลบ เกิดแต่ตม ฯลฯ

       นอกจากความสำเร็จที่ได้รับจากความนิยายของผู้อ่านมาเป็นเวลายาวนานแล้ว คุณสุภา สิริสิงห ยังได้รับรางวัลทางวรรณกรรมสำคัญหลายรางวัล อาทิ
       - จดหมายจากเมืองไทย ได้รับรางวัลวรรณกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๑๒ ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       - ไผ่ต้องลม ได้รับรางวัลชมเชยประจำปี ๒๕๒๓ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
       - ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด ได้รับรางวัลชมเชยประจำปี ๒๕๒๔ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
       - ทองเนื้อเก้า ได้รับรางวัลชมเชยประจำปี ๒๕๒๙ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
       - ก่อนสายหมอกเลือน ได้รับรางวัลชมเชยประจำปี ๒๕๓๐ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
       - ลูกไก่แสนสวย ได้รับรางวัลดีเด่นหนังสือเด็กเริ่มอ่าน ประจำปี ๒๕๑๖ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
       - นกบินไม่ได้ ได้รับรางวัลชมเชยสารคดีสำหรับเด็กประจำปี ๒๕๒๒ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
       - สวนสวรรค์ ได้รับรางวัลชมเชยหนังสืออ่านสำหรับเด็ก อายุ ๓-๖ ขวบ ประจำปี ๒๕๓๑ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

       คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ตระหนักว่า คุณสุภา สิริสิงห เป็นผู้ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์งานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าสำหรับผู้อ่านทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก วัยรุ่น ไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามและมีคุณภาพ โดยการใช้ความสามารถทางวรรณศิลป์อย่างมีอรรถรสเปี่ยมด้วยพลัง นับเป็นคุณูปการอย่างยิ่งต่อวงการวรรณกรรม จึงได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒

 เรื่องที่ได้ตีพิพม์เป็นครั้งแรกคือเรื่องสั้นชื่อ "ไอ้ดำ" ลงในนิตยสารขวัญจิต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ หลังจากนั้นก็เขียนนวนิยายขนาดยาว เรื่องที่ทำให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านคือ"จดหมายจากเมืองไทย " ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศถึง ๑๐ ภาษา

  ผลงานของโบตั๋นตลอด ๔๕ ปี มีดังต่อไปนี้....
กลิ่นดอกส้ม
ดอกไม้ริมทาง
พิมพิลาป
กว่าจะรู้เดียงสา
ดั่งสายน้ำไหล
เพรงกรรม
ก่อนสายหมอกเลือน
ดั่งหนึ่งเม็ดทราย
ไฟในดวงตา
กัณหาชาลี
ดาวแต้มดิน
ไฟฝัน
เกิดแต่ตม
ตราไว้ในดวงจิต
ภาพลวง
แก้วตาดวงใจ
ตะวันชิงพลบ
ไม้ดัด
คลื่นเหนือน้ำ
จันทร์ข้างแรม
ยายหนูลูกพ่อ
ความสมหวังของแก้ว
ทองเนื้อเก้า
ฟ้าชอุ่มฝน (รวมเรื่องสั้น)
คืนเหงา
แม้นรกมากั้น
รอยอดีต
คู่ยาก
ทิพย์ดุริยาง
รุ้งสีชมพู
แค่เอื้อม
นวลนางข้างเขียง
ลูกแม่
จดหมายจากเมืองไทย
นะหน้าทอง
วัยบริสุทธิ์
จากผงธุลีดิน
น้ำใจ
รักวัวให้ผูก รักลูกให้...
โฉด
บัวแล้งน้ำ
สัมปานหัวใจ
ซุ้มสะบันงา
บ้านสอยดาว
สายสัมพันธ์
ดงคนดิบ
ปลายฝนต้นหนาว
สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก
ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด
เหนือพื้นพสุธา
ด้วยสายใยแห่งรัก
ไผ่ต้องลม
เหยื่อ
ดอกกระถินริมรั้ว
เล่ห์
(เรื่องล่าสุดปี 2549)
แฝดพี่ ฝาดน้อง
อเวจีสีชมพู (เรื่องล่าสุดปี 2550)

เรือนทรายชายน้ำ
กล้วยไม้กลีบช้ำ
(เรื่องล่าสุดปี 2552)






















                                              ข้อมูลส่วนนี้จาก www.chomromdek.com 

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดไทยดังไกลระดับโลก

          เป็นที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่วัดไทยของเราไปสร้างชื่อเสียงไกลถึงระดับโลก  เพราะการจัดอันดับวัดที่สวยงามที่สุดในโลก วัดร่องขุ่นติด อันดับ 2 ของโลก
วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือคุณ  วันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่ และมี  พระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
 - วัด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 6.30 - 18.00 น.
 -  ห้องแสดงภาพ : เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - ศุกร์ 8.00 - 17.30 น. ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 8.00 - 18.00 น.


วัดไทยที่สวยๆมีเยอะมาก วันนี้ขอแนะนำวัดร่องขุ่นเป็นอันดับแรก





                                             วัดร่องขุ่น












วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์เกียวกับสำนักวิทยบริการ ม. ราชภัฏอุบลราชธานี

          ในเร็วๆนี้ทุกคนจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยีล่าสุดที่ทางสำนักวิยบริการจะจัดทำขึ้นนั้นก็คือ ระบบการบริการและการจักการทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุดด้วยเทคโนโลยี RFID เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สัญญาณคลื่นวิทยุในการระบุลักษณะทรัพยากร และอ่านรหัส โดยเป็นระบบที่สามรถทำงานเชื่อมต่อกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การที่สำนักวิทยบริการมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามานี้ คือการคืนหนังสือด้วยตู้อัตโนมัติ ถือว่าเป็นกาส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีอันจะนำไปสู้การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ และยังเพิ่มความนิยมการใช้ห้องสมุดอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักศึกษาบรรณารักษ์เข้าร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          ที่มาหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแสดงผลงานของนักเรียน
ตชด. ซึ่งในงานนี้ทางสาขาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ร่วมกับสำนักวิทยบริการม.ราชภัฏอุบลราชธานีร่วมจัดนิทรรศการ เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับห้องสมุดและภาพกิจกรรมที่ไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับโรงเรียน ตชด. ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้มีโอกาส รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                            ภาพแห่งความประทับใจ




                                              ถ่ายรูปร่วมกับอาจารย์ในคณะมนุษยศาสาตร์

นักศึกษาบรรณารักษ์ ศึกษาดูงานทีสำนักพิมพ์ไทยรัฐ ที่ กรุงเทพมหานคร

          ต้องบอกว่าที่สำนักพิมพ์ไทยรัฐเขาระเบียบมาก ประทับใจในเรื่องของกระบวนการบริหารงานซึ่งมีระเบียบมากมาที่นี้เราก็ได้รู้จักสำนักพิมพ์ไทยรับมากขึ้น เราได้ทราบกระบวนการผลิตหนังสือพิมพืแหล่งทีมาของเทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างมือในการผลิตส่วนใหญ่จะนำมาเข้าจากยุโรป และกระนำเข้าจากเกาหลี ส่วนการผลิตผลิตได้ถึงวันละ 200,000 ฉบับต่อวัน และที่เป็นความรู้ไหม่ก็คือ หนังสือพิมพ์มีการแบ่งเนื้อหาตามภูมิภาคด้วย ซึ่งเขาจะมีสัญลักษณ์รูปดาวที่ด้านขวาหนังสือพิมพ์
          ๑ดาว คือฉบับที่จำหน่ายในภาคอีสาน
          ๒ดาว คือฉบับที่จำหน่ายในภาคเหนือ
          ๓ดาว คือฉบับที่จำหน่ายในภาคใต้
          ๔ดาว คือฉบับที่จำหน่ายในกรุงเทพ กรอบบ่าย
          ๕ดาว คือฉบับที่จำหน่ายในภาคกลาง
          ๖ดาว คือฉบับที่จำหน่ายในกรุงเทพ กรอบเช้า
ถือเป็นความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยรู้มากก่อน

                                                       ถ่ายรูปที่หน้าโรงพิมพ์ไทยรัฐ

บรรณารักษ์ศึกษาดูงานที่ หอสมุดแห่งชาติ ที่ กรุงเทพมหานคร

          ที่หอสมุดแห่งชาตินี้เป็นแหล่งรวมหนังสือที่มีมากที่สุดในประเทศไทย เพราะหนังสือจากทุกสำนักพิมพ์ และทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชนจะถูกรวบรวมไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ต้องบอกว่าหอสมุดแห่งชาติมีอีกหลายมุมที่น่าสัมผัสมาก ไม่ว่าจะเป็น ห้องดนตรีที่รวบรวมบทพระชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 9 มีห้องที่จำลองประวัความเป็นมาของราชกาลที่ 6 ซึ่งจะทำเป็นหุ่นขี้ผึ้งข้างในห้องนี้จะสวยมากแต่น่าเสียดายทางหอสมุดแห่งชาติไม่ให้ถ่ายรูป เลยไม่มีรูปมาฝากแต่ก็มีรูปในส่วนอื่น ๆ การจัดหมวดหมู่ของที่นี้ก็จัดหมวดหมู่เป็นระบบทศนิยมดิวอี้ จุดเด่นของที่นี้คือจะเป็นแหล่งรวมหนังสือเก่าและใหม่มากมาย

                                                           ถ่ายรูปที่หอสมุดแห่งชาติ

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บรรณารักษ์ศึกษาดูงานที่ หอสมุดสุรัตน์โอสถานุเคราะห์ ม. กรุงเทพ

             ที่ ม. กรุงเทพเทพต้องบอกว่าเขาอยู่ในระดับเอกชน ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ เขาจะทันสมัยมาก อย่างระบบฐานข้อมูล O-PAC เขาก็พัฒนาขึ้นเอง ส่วนการจัดหมวดหมู่เขาจะจัดหมวดหมู่ในระบบรัฐสภาอเมริกัน ที่สนใจเป็นพิเศษเห็นจะเป็นกระบวนการทำงานในด้าน IT ในเรื่องของสื่อ CD รอม เขาจะทันสมัยมาก มีโปรแกรมฐานข้อมูลสื่อโสตทันศ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะสะดวกในเรื่องการบริการโดยไม่ต้องไปยืมเป็นแผ่น CD สามารถดูได้ที่ฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดไว้บริการต้องยอมรับว่าห้องสมุดเรายังไม่มี


หอสมุดสุรัตน์โอสถานุเคราะห์ ม. กรุงเทพ

บรรณารักษ์ศึกษาดูงานที่ หอสมุดป๋วย ม.ธรรมศาสตร์

             การไปศึกษาดูงานที่ หอสมุดป๋วยนี้ต้องบอกว่าเราได้สัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมายโดยเฉพาะระบบยืมคืนหนังสือด้วยตู้อัตโนมัติ และยิ่งไปกว่านั้นทางหอสมุดแห่งยังมีโครงการประหยัดพลังงานต้องถือว่าอยุ่ในขั้นที่ประสบความสำเร็จ ถ้าปรับใช้ที่ห้องสมุดของเราได้คงจะดี

                                                   ถ่ายรูปที่หอสมุดป๋วย ม. ธรรมศาสตร์

บรรณารักษ์ศึกษาดูงานที่ ม. ราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี

               การไปศึกษาดูงานครั้งนี้ที่สำนักวิทยบริการต้องบอกว่าเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน ซึ่งในการจัดหมวดหมู่มีลักษณะที่เหมือนกันกับขของเราคือ การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ จุดเด่นของเขาคงคงจะเป็นในเรื่องของการยืมสื่อ CDรอม ที่นี้เขาสามารถยืมได้แต่ทวาของเรายังยืมไม่ได้

                                       ถ่ายรูปที่ สำนักวิทยบริการ ม.ราชภัฏเทพสตรี จ. ลพบุรี

บรรณารักษ์ ศศ.บ.3.9 เข้าร่วมอบรมในงาน 100 ปีกรมศิลปกร

            บรรณรักษ์ ศศ.บ.3.9 เข้าร่วมอบรมในงาน 100 ปีกรมศิลปกร ซึ่งในงานนี้ต้องบอกว่าเราได้วิทยากรจากหลายแหล่งและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งนั้น ทำให้ได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับกรมศิลปกรทำว่ามีอะไรบ้างอาทิ เช่น งานด้าน โบราณคดี เป็นการรวบรวมศึกษาโบราณวัตถุต่างๆ ในงานนี้เราก้ได้เห็นวัตถุโบราณที่หายาก

                                                             ถ่ายรูปร่วมกับวิทยากร

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

7 สิ่งมหัสจรรย์ของโลก ล่าสุด 2011 wonder7th

1. - เมืองซีเชน อิตซา เขตยูคาทาน เม็กซิโก (Chichen Itza) 





2. - รูปปั้นพระเยซูคริสต์ บนยอดเขาเมืองริโอ เดอ จานิโร บราซิล (Christ Redeemer) 






3.- สนามโคลอสเซียม กรุงโรม อิตาเลียน (Colosseum) 






4.- กำแพงเมืองจีน (Great Wall) 






5.- "เปตรา" เมืองนครหินสีชมพู จอร์แดน 







6.- เมืองสาบสูญแห่งอินคา "มาชูปิกชู" เปรู (Machu Picchu) 






7. - ทัชมาฮาล เมืองอักรา อินเดีย (Tal Mahal)