วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

บุญกฐิน ppt

        กรณีศึกษาการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นเรื่อง..... ประเพณีบุญกฐิน    บ้านสองห้อง
ตำบลโนนสว่าง  อำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด







นางสาวอุบลรัตน์  จำนงสุข  หมู่เรียน  ศศ..3.9






รายวิชาการการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
   หาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  ภาคเรียนที่ 2 / 2554

1.1  ความหมายของกฐิน
กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)
กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้
1.             กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
2.             กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
3.             กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน
4.             กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์
การทอดกฐิน คือ การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่วัดใดวัดหนึ่งหรือสถานที่ใดที่หนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อให้พระได้มีผ้าเปลี่ยนใหม่การทอดกฐินจึงถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ ให้อานิสงส์แรง เพราะในปีหนึ่งแต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และจะต้องทำภายในเวลาที่กำหนดในการทอดกฐิน คือ 1 เดือนเท่านั้น โดยนับตั้งแต่วันออกพรรษา
1.2  ประเภทของกฐิน
กฐินมีหลายประเภท ซึ่งล้วนแต่มีข้อกำหนด กระบวนการ และขั้นตอนของพิธีกรรมี่แตกต่างกัน ดังจะได้กล่าวถึงกฐินหลายประเภท(ในยุคปัจจุบัน) โดยสังเขปดังนี้
1.              กฐินหลวง เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชดำเนินไปทรงทอดเอง หรือพระราชทานให้บุคคลอื่น หรือหน่วยงานต่างๆ ไปทอดถวาย แบ่งออกได้ดังนี้
1.1 กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี คือกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดด้วยพระองค์เอง ณ วัดหลวง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด ๑๖ วัด เป็นวัดในกรุงเทพฯ ๑๒ วัด และ ในต่างจังหวัด ๔ วัด
 1.2  กฐินต้น คือกฐินส่วนพระองค์ เริ่มมีมาแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดจากการเสด็จประพาสเป็นการส่วนพระองค์ หรือเสด็จประพาสต้น
 1.3 กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าพระกฐินของหลวงแก่กระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม ตลอดจนเอกชนที่รับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายวัดหลวงต่างๆ
2.  กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ชาวบ้านนำไปทอดหรือถวายพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา มีชื่อเรียกแตกต่างก้นไปตามกระบวนการของการทอด ได้แก่
             2.1  มหากฐิน คือกฐินที่กระทำเป็นประเพณีในปัจจุบัน ที่เรียกว่า มหากฐิน เพราะชาวบ้านมีเวลาตระเตรียมนานวัน จำนวนผู้ไปร่วมทอดกฐินมีมาก จึงเรียกว่า มหากฐิน
             2.2  กฐินสามัคคี คือ กฐินทั่วไปที่มิเจ้าภาพร่วมกันหลายคน กฐินประเภทนี้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เป็นการแสดงความสามัคคีที่ได้ทำบุญร่วมกัน ทั้งได้รับความสนุกสนานบันเทิงใจด้วย
             2.3  จุลกฐิน เป็นกฐินที่จัดเป็นพิธีการใหญ่ ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่าได้อานิสงส์มาก เพราะทุกลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้น จนกระทั่งถึงการทอดถวายนั้น ต้องกระทำได้สำเร็จเสร็จสิ้น ภายในวันเดียว จึงต้องใช้คนมาร่วมแรงร่วมใจกันมาก ถือเป็นงานทีแสดงถึงพลังสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปัจจุบันจึงไม่สู้จะมีงานกฐินนี้ให้เห็นแล้ว
             2.4 กฐินตก หรือกฐินโจร เป็นกฐินที่นำไปทอดที่วัดใดวัดหนึ่งที่ตกค้างจากการทอดกฐินในปีนั้น การนำไปทอดจะกระทำโดยไม่บอกกล่าวทางวัดล่วงหน้า ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่าเป็นกฐินตกค้างหรือกฐินโจร เพราะไปทอดในลักษณะจู่โจม
1.3   ความสำคัญ
การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้
1.             จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
2.             จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป
3.             จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
4.             จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้
5.             จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
6.             จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
7.   เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเองนับเป็นพระประสงค์โดยตรง
1.4    ประวัติและความเป็นมาประเพณีทอดกฐิน
จีวรลาภอันเกิดครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ซึ่งถือธุดงค์วัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้นพอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึง กรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์
พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น เรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวาย และการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ
พระพุทธเจ้าทรงทราบ และเห็นความลำบากของภิกษุจึงทรงยกเป็นเหตุ และมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้ว กรานกฐินได้ และเมื่อกรานกฐินแล้ว จะได้รับอานิสงส์ตามที่กำหนดในพระวินัยถึง 5 ประการคือ
1.             อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ จะไปค้างคืนที่ไหน ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
2.             จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องบอกลาก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
3.             ฉันคณะโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติ
4.             เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
5.             จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาล ให้ยาวออกไปอีกจนถึงกลางเดือน 4
1.5       ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฐิน
          การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลากำหนด คือ ตั้งแต่วันแรม 1 คำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 หรือตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2554 หลังจากนั้นไม่นับเป็นกฐิน
พระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐิน พระสงฆ์ผู้จะให้ผ้ากฐินนั้น จะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป เพราะจะต้องจัดเป็นผู้รับผ้ากฐิน 1 รูป เหลืออีก 4 รูปจะได้เข้าเป็นองค์คณะ (สงฆ์) มากกว่า 5 รูปขึ้นไปใช้ได้ แต่น้อยกว่า 4 รูปใช้ไม่ได้
 คุณสมบัติของพระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ 3 เดือน ปัญหาที่เกิดขึ้นมีอยู่ว่าจะนำพระสงฆ์จากวัดอื่นมาสมทบ จะใช้ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่พระรูปที่มาสมทบจะไม่มีสิทธิในการรับผ้าและไม่มีสิทธิออกเสียงว่าจะถวายผ้าให้กับรูปใด (เป็นเพียงแต่มาร่วมให้ครบองค์สงฆ์เท่านั้น) แต่คณะทายกทายิกาอาจถวายของสิ่งอื่นได้

ตัวอย่าง บุญมหากฐิน ที่บ้านสองห้อง  ตำบลโนนสว่าง  อำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด
มหากฐิน คือกฐินที่กระทำเป็นประเพณีในปัจจุบัน ที่เรียกว่า มหากฐิน เพราะชาวบ้านมีเวลาตระเตรียมนานวัน จำนวนผู้ไปร่วมทอดกฐินมีมาก จึงเรียกว่า มหากฐิน
ขั้นตอนที่  1. การจองกฐิน หรือ ชาวอีสานเรียกว่าการปักกฐินคือ การแจ้งล่วงหน้าให้ทางวัดและประชาชนได้ทราบว่าวัดนี้มีผู้มีศรัทธาจองแล้ว การจองก็คือให้เขียนสลาก(ใบจอง) ติดไว้ผนังโบสถ์บอกชื่อตัว ชื่อสกุล ตำแหน่งและที่อยู่ของตนให้ชัดเจน เพื่อมิให้ผู้อื่นไปจองทับ เพราะในปีหนึ่งวัดจะรับกฐินได้เพียงกองเดียว ที่บ้านสองห้องนี้จะจองล่วงหน้าถึง 2 ปี
ตัวอย่างใบจองกฐิน
ข้าพเจ้าชื่อ ................................................... บ้านเลขที่ ............ ตำบล...................................... อำเภอ .................................................... จังหวัด...................................... มีศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐินแก่พระสงฆ์วัดนี้ มีองค์กฐิน .................... มีบริวารกฐิน ....................... กำหนดวัน ............. เดือน ............................................. ปี ..................... เวลา........................

ขั้นตอนที่ 2. วันที่ 19 ตุลาคม 2554 เตรียมเครื่องกฐิน เครื่องกฐินประกอบด้วยดังนี้
-                   ผ้าไตร (หัวใจหลัก )
-                   เครื่องครัว  เครื่องครัวที่อยู่ในบ้านทุกอย่าง เช่น ถ้วย  จาน ครก สาก  ช้อน ทัพพี เป็นต้น
-                   ยอดกฐินหรือพานแว่นฟ้า
-                   ธง 4 ชนิด
 1. ธงกฐินรูปจระเข้คาบดอกบัว หมายถึงความโลภ
 2. ธงกฐินรูปตะขาบหรือแมลงป่องคาบดอกบัว หมายถึงความโกรธ
 3. ธงกฐินรูปนางกินรีถือดอกบัว หมายถึงความหลงหรือโมหะ
 4  ธงกฐินรูปเต่าคาบดอกบัว หมายถึง ศีล หรืออินทรีย์สังวร
                                                               ภาพรายการเครื่องกฐิน
ขั้นตอนที่ 3.  นำเครื่องกฐินลงในหอกฐิน เริ่มทำตั้งแต่ตอนตีหนึ่งของวันที่ 19 ตุลาคม 2554
ขั้นตอนที่ 4. แห่รอบหอกฐิน 3 รอบ ด้วยมโหรีษ์ เป็นเครื่องดนตรีโบราณ  แห่ในช่วงเวลา 04.00 น.
ขั้นตอนที่ 5.  ในเวลา 15.00 น. แห่รอบหมู่บ้าน 3 รอบ ด้วยเครื่องดนตรีแบบชาวบ้าน
ขั้นตอนที่ 6.  ตั้งแต่เวลา 18.00 น. มี มหรสพสมโภณ
ขั้นตอนที่ 7. นำกองกฐินแห่รอบศาลาการเปรียญ ในเวลาประมาณ 08.00 น.
   ภาพการแห่กองกฐินรอบศาลาการเปรียญ
ขั้นตอนที่ 8.  ในวันที่ 20 ตุลาคม 2554 หลังพระภิกษุสงฆ์ฉันภัตหารเช้า เวลาประมาณ  08.30 น. นำเครื่องกฐินและปัจจัยไทยทานนำไปถวายวัดที่จองไว้คือวัดจิระประภาวาส
                                       ภาพการนำเครื่องกฐินและปัจจัยไทยทานนำไปถวายวัด
ขั้นตอนที่ 9.  ถวายผ้ามหากฐิน ยกให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้รับ ต่อจากนั้นยกผ้าไปถวาย พระภิกษุจะทำการอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นพระสงฆ์จะนำผ้ากฐินไปในโบสถ์ เพื่อทำการกรานและอนุโมทนากฐิน เป็นอันเสร็จพิธีฝ่ายผู้รับ
                             
                                                        ภาพการถวายผ้ามหากฐิน
                                     ภาพบรรยากาศการทอดกฐิน
1.6  ความเชื่อต่อสังคม
สำหรับผู้ทอดกฐิน หรือญาติโยมก็จะได้รับอานิสงส์ ดังนี้
1. ทำให้มีอายุยืนยาว
2. ทำให้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์
3. จะไม่ถูกวางยาพิษให้เป็นอันตรายถึงชีวิต
4. ทรัพย์สมบัติจะไม่เป็นอันตรายด้วยโจรภัยหรืออัคคีภัย
5. จะได้เป็นเอหิภิกขุในอนาคต
อดีต  เชื่อกันว่าการทำบุญกฐินถือว่าเป็นบุญใหญ่    คนทำบุญจะได้กุศลผลบุญมาก  เพราะมีค่าใช้จ่ายในการบุญกฐินจะมากกว่าทำบุญประเพณีอื่น ๆ หลายเท่า  ช่วงระยะเวลาการทำบุญกฐินถือเป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างเว้นจากทำนา  รอการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว  การทำบุญกฐินมีอานิสงส์มากนัก แม้พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า เป็นทานอันประเสริฐ เป็นการช่วยจรรโลงพร ศาสนาให้ถาวร
ปัจจุบัน  ชาวบ้านก็ยังเชื่อกันว่าการทำบุญกฐินถือว่าเป็นบุญใหญ่ได้บุญมาก















คำศัพท์ทางพุทธศาสนา
คำศัพท์                                                                                                                                  ความหมาย
1. กรานกฐิน                                                                                      - คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับ                กรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บ ย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
 2. อาสนะ                                                                                            คือที่ปูนั่ง  เครื่องปูรองนั่ง ใช้เฉพาะพระ,เณร
3. สัปทน                                                                                             - คือร่มที่ทำด้วยผ้ามีที่ระบายรอบ มันยาว
4. ผ้าไตร                                                                                             - คือผ้าสามผืนของพระภิกษุ คืออัตราสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) สังฆาฏิ (ผ้าทาบ)             
5.  ตาลปัตร (อ่านว่า ตาละปัด)                                                      - ตามรูปศัพท์แปลว่า พัดใบตาล, พัดใบลาน











บรรณานุกรม
สมชาย  น้อยบาท.  ขั้นตอนการทำบุญมหากฐิน.  บ้านเลขที่ 11/12 ตำบลราษฎร์เจริญ 
                    อำเภอพยัคฆภูมพิสัย  จังมหาสารคาม.
  วิธีสืบค้นประเพณีบุญกฐิน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :www.Watisan.com. 
                     (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2554).
  วิธีสืบค้นกฐิน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : th.Wikipedia.org
                     (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2554).


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น